0-3Y/เด็กเล็ก RSS
วิธีรับมือลูกน้อยกินยาก
วิธีรับมือลูกน้อยกินยาก ลูกน้อยกินยาก คำนี้คุณแม่ต้องเจอบ่อยๆ เพราะการกินยากของลูกน้อยนั้น ทำให้คุณแม่ปวดหัว เด็กๆ มักจะมีช่วงเวลานึงที่เริ่มจะทานยาก จะต้องไม่ทำให้ลูกเป็นเด็กกินยากตั้งแต่เด็กๆ ให้เขากินอาหารที่หลากหลาย จะได้ทานอาหารได้หลากหลายเช่นกัน
การดื่มนมของทารกภายใน 1 วัน
การดื่มนมของทารกภายใน 1 วัน เรามาดูการดื่มนมของทารกภายใน 1 วันกันดีกว่า ว่าเขานั้นมีการดื่มนมอย่างไร เท่าไหร่จึงจะเรียกว่าเพียงพอสำหรับเจ้าตัวน้อย เพราะเด็กแต่ละคนนั้นมีความหิว ความอยากไม่เหมือนกัน บางคนกินได้ตลอดเวลาแม้จะอิ่มไปแล้ว บางคนอาจจะไม่กินอะไรเลยแม้จะหิว เพราะดูดไม่เก่ง ดูดไม่เป็น #ลูกน้อยกินนม #การกินนมแต่ละวัน #การกินนมเด็กใน1วัน #ปริมาณนนสำหรับทารก #ขวดนม #เครื่องปั้มนม #นมแม่ #เครื่องอุ่นนมแม่ #เครื่องล้างขวดนม #น้ำยาล้างขวดนม #จุกนม
อาการร้องไห้งอแงของลูกที่ผิดปกติ
อาการร้องไห้งอแงของลูกที่ผิดปกติ คุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัว หรือคนเลี้ยงดูเจ้าตัวน้อยของบ้าน มักจะเป็นวิตกกังวลเมื่อเด็กทารกร้องไห้ เพราะเด็กทารกนั้นพูดยังไม่ได้ เขาจะใช้การร้องไห้เป็นสื่อนำ ว่าเขานั้นรู้สึกอย่างไร การร้องไห้ของเขาแต่ละครั้ง ทำให้ทุกคนกังวล ว่าเขานั้นเป็นอะไร ไปดูความปกติของเด็กทารกที่เขาร้องกันเถอะค่ะ #ลูกร้องไห้ #ลูกร้องงอแง #ลูกงอแง #ลูกร้องไห้ผิดปกติ #ลูกไม่สบาย
Baby Led Weaning (BLW) เริ่มต้นได้ง่ายๆ
Baby Led Weaning (BLW) เริ่มต้นได้ง่ายๆ เราเคยพูดเรื่องของ Baby Led Weaning (BLW) คือเรื่องการฝึกให้ลูกนั้นเริ่มหัดหยิบจับทานเอง หรือการฝึกลูกกินข้าวเอง ซึ่งจะสามารถฝึกได้ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป หรือต้องดูจากความพร้อมของเด็กแต่ละคนด้วย เด็กบางคน เมื่อถึง 6 เดือน ก็ยังไม่พร้อมที่จะกินแบบ BLW ก็ได้ฝึกให้ลูกทาน BLW เมื่อไหร่? เมื่อลูกมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป หรือว่าลูกสามารถนั่งเก้าอี้แบบที่ทรงตัวตรงๆ ได้ด้วยตัวเองแล้ว เพราะการกินอาหารแบบ BLW ต้องให้ลูกนั่งทานอาหารที่โต๊ะ เรื่องนั่งจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ลูกเริ่มหยิบจับของได้แล้ว เพราะการกินแบบ BLW ลูกต้องหยิบจับของกินเอง พ่อแม่มีหน้าที่แค่ทำการสังเกตการณ์เท่านั้น ลูกเริ่มเคี้ยวได้แล้ว มีฟันแล้ว แต่ไม่ต้องมีให้ครบ เพราะเหงือกของลูกแข็งแรง สามารถใช้เคี้ยวอาหารได้ และอาหารที่ให้ลูกทานแบบ BLW ก็ไม่ใช่อาหารที่แข็งจนต้องใช้ฟันกัด ข้อดีของการทานแบบ BLW คุณแม่คุณพ่อไม่เสียเวลาป้อนข้าวลูก พัฒนากล้ามเนื้อมือ พัฒนาด้านการตัดสินใจ ฝึกความสัมพันธ์ตากับมือ ได้รับสารอาหารหลากหลาย ปรับสารอาหารให้ลูกน้อยได้ง่าย สังเกตพฤติกรรมการกินของลูกน้อยได้ ได้ลิ้มรสอาหารแปลกใหม่ สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว สร้างการมีส่วนร่วมภายในครอบครัวให้ตัวเด็ก มาฝึก BLW กันเถอะ นั่งร่วมโต๊ะอาหารด้วยกันทุกคนในครอบครัว สร้างช่วงเวลาความสัมพันธ์ในครอบครัว ให้ลูกได้รู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว และโต๊ะอาหาร หั่นอาหารเป็นชิ้นในแบบ BLW เตรียมพื้นที่สำหรับการกิน อาจจะต้องมีถาดรอง ชามก้นดูด ผ้ากันเปื้อน ช้อนส้อมสำหรับเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เลอะเทอะมาก เตรียมความพร้อมให้ลูก ด้วยการล้างมือก่อนทานอาหาร ทำให้เขารู้ว่า ก่อนทานอาหารต้องทำความสะอาดมือก่อน ทำความสะอาดมือหลังทานอาหารเสร็จ เลือกอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย อาหารไม่อ่อน หรือแข็งจนเกินไป ควรเป็นอาหารที่ทำให้สุกนิ่ม หรือเป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย เนื้อสัตว์สามารถเพิ่มให้ลูกน้อยได้ ตามความสามารถในการเคี้ยวอาหารของเขา เช่น เนื้อปลาสุก ตับ เนื้อหมู เนื้อไก่ เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน...
กรดไหลย้อนในเด็กทารก อันตราย แต่ป้องกันได้
กรดไหลย้อนในเด็กทารก อันตราย แต่ป้องกันได้ หลายคนนั้นอาจจะคิดว่ากรดไหลย้อนนั้นเป็นได้แค่ในช่วงอายุของผู้ใหญ่เท่านั้นที่จะพบเจอกับโรคนี้ แต่บอกเลยว่า เด็กทารกแรกเกิดนั้นก็เป็นกรดไหลย้อนได้เหมือนกัน แถมยังอันตรายต่อทารกอีกด้วย เนื่องจากจะทำให้ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ กระทบในหลายๆ ส่วนของทารกเลยทีเดียว อาการกรดไหลย้อนในเด็กทารกแรกเกิดนั้น พบถึงร้อยละ 50 ของทารกที่เกิดมา แต่พอหลังจากอายุ 10 เดือนขึ้นไปแล้ว โอกาสที่จะมีอาการกรดไหลย้อนนี้จะอยู่ที่ 1 ใน 20 คนเท่านั้นเอง ซึ่งเด็กทารกแรกเกิดนั้นมีอัตราการเกิดอาการกรดไหลย้อนได้สูงมากๆอาการของกรดไหลย้อนในเด็กทารกแรกเกิด อาการกรดไหลย้อนในเด็กทารกแรกเกิดนั้นสามารถสังเกตได้ไม่ยากเลย เพียงแค่ลูกน้อยมีอาการอาเจียนนมออกมาหลังจากที่กินนมเสร็จ หรือเกิดอาการสะอึก หรือถ้าลูกน้อยมีอาการอาเจียนแล้วไหลกลับไปไม่ตรงจังหวะของการหายใจ จะทำให้เกิดอาการอาเจียน และไอร่วมด้วย อาการเหล่านี้ยังถือว่าไม่อันตรายมากเท่าไหร่ เพราะเป็นอาการอาเจียนของกรดไหลย้อนปกติ คุณแม่สามารถทำความสะอาดอาเจียน หรือนมที่ออกมาให้เรียบร้อยเท่านั้นเอง อาการที่น่าเป็นห่วงที่ต้องรีบพาลูกน้อยพบกุมารแพทย์ร่วมด้วย คือ ลูกร้องไห้มากในระหว่างการกินนม มีอาการกรดไหลย้อนมากกว่า 5 ครั้งต่อวัน ลูกอาเจียนบ่อยครั้ง อาการไอกลายเป็นอาการที่เกิดอยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้น่าเป็นห่วง เพราะลูกน้อยจะบอกอาการที่เป็นไม่ได้ คุณแม่จึงต้องทำการสังเกตอาการของลูกน้อยอยู่เสมอ หากพบว่ามากผิดปกติ เกินการควบคุม สามารถพาลูกน้อยพบกุมารแพทย์ได้ในทันที วิธีการป้องกันกรดไหลย้อนในเด็กทารกแรกเกิด ไม่ยัดนมให้ลูกดื่มเป็นปริมาณมากในทีเดียว ให้แบ่งนมให้ลูกทานเป็นเซ็ต เซ็ตหนึ่งห่างกัน 1 - 2 ชม. ตามอายุ และการดื่มนมของลูกน้อย พยายามอุ้มลูกดื่มนมท่ายกหัวลูกขึ้นสูงกว่าระดับราบ หลังดื่มนมแล้วต้องจับลูกเรอทุกครั้ง และพาลูกนั่งพักก่อนที่จะให้นอนสัก 15-30 นาที หากจำเป็นต้องให้ลูกน้อยนอนในทันที ให้ลูกน้อยนอนเอนประมาณ 15 องศา เพื่อป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมหลายตัวที่จะช่วยให้ลูกน้อยลดการเกิดอาการกรดไหลย้อนได้ ไม่ว่าจะเป็น ที่นอนกันกรดไหลย้อน เอามาไว้ให้ลูกน้อยนอนเพื่อป้องกันกรดไหลย้อน เมื่อไม่สามารถพาลูกนั่งได้นานๆ ถ้าเป็นรุ่นที่มีซัพพอร์ตขา ที่รองรับสรีระ ที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของลูกน้อยก็จะดียิ่งขึ้น เก้าอี้ไฟฟ้าเด็กทารกที่เอนได้ ปรับระดับเอนได้ ก็สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน ...