babyfun, cutebaby, พัฒนาการลูกน้อย -

ชวนคุณแม่มาใช้กางเกงฝึกขับถ่ายให้กับลูกน้อยกันค่ะ

กางเกงฝึกขับถ่าย ลาย Helicopter จาก Pop-in Size S-XL

กางเกงฝึกขับถ่าย ลาย Helicopter จาก Pop-in Size S-XL

 

มาลองดูข้อดีของการฝึกกันนะค่ะ

 

การเริ่มฝึกให้ลูกใช้ห้องน้ำ คุณแม่อาจเลือกใช้เป็นกระโถนให้เขานั่ง หรืออาจหาฝารองชักโครกสำหรับเด็ก เพราะเด็กบางคนชอบที่จะมีกระโถนเป็นของตนเองในขณะที่บางคนชอบนั่งชักโครกแบบผู้ใหญ่ ซึ่งคุณแม่สามารถหาฝารองนั่งชักโครกสำหรับเด็กมาให้เค้านั่งได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเห็นว่าเด็กเริ่มไม่อยากนั่งกระโถนก็ลองเปลี่ยนให้นั่งชักโครกโดยใช้ฝารองนั่งชักโครกแทน (หรือสลับกัน)
 

เมื่อคุณแม่คิดว่า ลูกน้อยของคุณพร้อมแล้วสำหรับการฝึกการใช้ห้องน้ำ ก็ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ต่อไปนี้ถ้าลูกไม่ได้ใส่ผ้าอ้อมแล้วเวลาจะปัสสาวะก็ต้องนั่งกระโถนแทน และเนื่องจากผ้าอ้อมสำเร็จรูปช่วยปกป้องความชื้น ดังนั้น ในตอนเริ่มต้นคุณอาจใช้ผ้าอ้อมชนิดพิเศษแบบ “Wetness liners” ที่ทำให้ลูกรู้สึกถึงความเปียกชื้นบ้างเพื่อเขาจะได้รู้สึกเหนอะหนะและรำคาญ แต่คุณแม่ต้องระวังไม่ให้เกิดผื่นแดงจากผ้าอ้อมและความชื้น อาจลองใช้ขี้ผึ้งที่ช่วยป้องกันผื่นแพ้จากความชื้นและการ
ระคายเคืองให้กับเขาด้วย

กางเกงฝึกขับถ่าย ลาย Tulip จาก Pop-in Size S-L

กางเกงฝึกขับถ่าย ลาย Tulip จาก Pop-in Size S-L

 

คุณแม่อาจจะเปลี่ยนวิธีโดยลองให้ลูกคุณใส่กางเกงในเพื่อฝึกสอนการใช้ห้องน้ำ แต่ว่า อาจจะต้องเจอกับปัญหาที่ลูกคุณขับถ่ายออกมาก่อนที่จะเข้าห้องน้ำทัน เมื่อคุณเปลี่ยนมาให้ลูกใส่กางเกงในแทนผ้าอ้อมสำเร็จรูป

 
สัญญาณต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่าลูกคุณพร้อมแล้วที่จะเปลี่ยนมาใส่กางเกงในแทนผ้าอ้อมสำเร็จรูป

 

• ถอดกางเกงและผ้าอ้อมออกได้โดยไม่ต้องให้คุณช่วย

• รู้ตัวว่าต้องการจะปัสสาวะหรือต้องการถ่ายอุจจาระ (ในเวลาที่ใส่ผ้าอ้อม) และสามารถบอกคุณแม่ได้

• สังเกตเห็นคุณแม่หรือคนในครอบครัวใช้ห้องน้ำ

• อยากนั่งและพยายามใช้กระโถน
 

เมื่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูกน้อยรู้ว่าเขาควรจะทำอย่างไรถ้าไม่ได้ใส่ผ้าอ้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ คุณแม่ควรจะสอนให้ลูกสวมกางเกงใน โดยอธิบายให้ลูกคุณเข้าใจว่า เขากำลังจะได้ใส่กางเกงในเหมือนเด็กโตๆ และให้โอกาสเขาได้เลือกกางเกงในที่อยากจะใส่เองเพื่อที่เขาจะได้รู้สึกว่ามีส่วนร่วม
 

แต่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการสอนเวลาที่เด็กกำลังเจอการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเขา เช่น เวลาที่ย้ายไปอยู่ที่ใหม่ หรือการที่มีน้องที่เกิดใหม่อยู่ในบ้าน เป็นต้น คุณแม่ควรเลือกเวลาที่เด็กคุ้นเคยกับชีวิตประจำวันแล้ว

 

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.anmum.com/th/main.aspx?sid=2298&sva=6