กรดไหลย้อนในเด็กทารก อันตราย แต่ป้องกันได้

กรดไหลย้อนในเด็กทารก อันตราย แต่ป้องกันได้

#ที่นอนกันกรดไหลย้อน  #กรดไหลย้อน  #กรดไหลย้อนในเด็ก  #กรดไหลย้อนทารก  #ที่นอนเด็ก  #ที่นอน  #ที่นอนจัดท่าเด็ก  #ที่นอนซัพพอร์ตระบบทางเดินทาอาหาร  #ทารก  #ทารกอ้วก  #ทารกแหวะนม  #ทารกอาเจียน  #ทารกร้องไห้ไม่หยุด  #ลูกร้องไม่หยุด

 

 

กรดไหลย้อนในเด็กทารก อันตราย แต่ป้องกันได้

          หลายคนนั้นอาจจะคิดว่ากรดไหลย้อนนั้นเป็นได้แค่ในช่วงอายุของผู้ใหญ่เท่านั้นที่จะพบเจอกับโรคนี้ แต่บอกเลยว่า เด็กทารกแรกเกิดนั้นก็เป็นกรดไหลย้อนได้เหมือนกัน แถมยังอันตรายต่อทารกอีกด้วย เนื่องจากจะทำให้ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ กระทบในหลายๆ ส่วนของทารกเลยทีเดียว

          อาการกรดไหลย้อนในเด็กทารกแรกเกิดนั้น พบถึงร้อยละ 50 ของทารกที่เกิดมา แต่พอหลังจากอายุ 10 เดือนขึ้นไปแล้ว โอกาสที่จะมีอาการกรดไหลย้อนนี้จะอยู่ที่ 1 ใน 20 คนเท่านั้นเอง ซึ่งเด็กทารกแรกเกิดนั้นมีอัตราการเกิดอาการกรดไหลย้อนได้สูงมากๆ

อาการของกรดไหลย้อนในเด็กทารกแรกเกิด

          อาการกรดไหลย้อนในเด็กทารกแรกเกิดนั้นสามารถสังเกตได้ไม่ยากเลย เพียงแค่ลูกน้อยมีอาการอาเจียนนมออกมาหลังจากที่กินนมเสร็จ หรือเกิดอาการสะอึก หรือถ้าลูกน้อยมีอาการอาเจียนแล้วไหลกลับไปไม่ตรงจังหวะของการหายใจ จะทำให้เกิดอาการอาเจียน และไอร่วมด้วย อาการเหล่านี้ยังถือว่าไม่อันตรายมากเท่าไหร่ เพราะเป็นอาการอาเจียนของกรดไหลย้อนปกติ คุณแม่สามารถทำความสะอาดอาเจียน หรือนมที่ออกมาให้เรียบร้อยเท่านั้นเอง


อาการที่น่าเป็นห่วงที่ต้องรีบพาลูกน้อยพบกุมารแพทย์ร่วมด้วย คือ

  • ลูกร้องไห้มากในระหว่างการกินนม
  • มีอาการกรดไหลย้อนมากกว่า 5 ครั้งต่อวัน
  • ลูกอาเจียนบ่อยครั้ง
  • อาการไอกลายเป็นอาการที่เกิดอยู่ตลอดเวลา


          อาการเหล่านี้น่าเป็นห่วง เพราะลูกน้อยจะบอกอาการที่เป็นไม่ได้ คุณแม่จึงต้องทำการสังเกตอาการของลูกน้อยอยู่เสมอ หากพบว่ามากผิดปกติ เกินการควบคุม สามารถพาลูกน้อยพบกุมารแพทย์ได้ในทันที

 

#ที่นอนกันกรดไหลย้อน  #กรดไหลย้อน  #กรดไหลย้อนในเด็ก  #กรดไหลย้อนทารก  #ที่นอนเด็ก  #ที่นอน  #ที่นอนจัดท่าเด็ก  #ที่นอนซัพพอร์ตระบบทางเดินทาอาหาร  #ทารก  #ทารกอ้วก  #ทารกแหวะนม  #ทารกอาเจียน  #ทารกร้องไห้ไม่หยุด  #ลูกร้องไม่หยุด



วิธีการป้องกันกรดไหลย้อนในเด็กทารกแรกเกิด

  • ไม่ยัดนมให้ลูกดื่มเป็นปริมาณมากในทีเดียว ให้แบ่งนมให้ลูกทานเป็นเซ็ต เซ็ตหนึ่งห่างกัน 1 - 2 ชม. ตามอายุ และการดื่มนมของลูกน้อย
  • พยายามอุ้มลูกดื่มนมท่ายกหัวลูกขึ้นสูงกว่าระดับราบ
  • หลังดื่มนมแล้วต้องจับลูกเรอทุกครั้ง และพาลูกนั่งพักก่อนที่จะให้นอนสัก 15-30 นาที
  • หากจำเป็นต้องให้ลูกน้อยนอนในทันที ให้ลูกน้อยนอนเอนประมาณ 15 องศา เพื่อป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน


นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมหลายตัวที่จะช่วยให้ลูกน้อยลดการเกิดอาการกรดไหลย้อนได้ ไม่ว่าจะเป็น

  • ที่นอนกันกรดไหลย้อน เอามาไว้ให้ลูกน้อยนอนเพื่อป้องกันกรดไหลย้อน เมื่อไม่สามารถพาลูกนั่งได้นานๆ ถ้าเป็นรุ่นที่มีซัพพอร์ตขา ที่รองรับสรีระ ที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของลูกน้อยก็จะดียิ่งขึ้น
  • เก้าอี้ไฟฟ้าเด็กทารกที่เอนได้ ปรับระดับเอนได้ ก็สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน


          นอกจากจะใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับช่วยลดอาการกรดไหลย้อนของทารกแล้ว คุณแม่ต้องมีวินัยในการรักษาระยะเวลาการให้นม ปริมาณการให้นม การจับลูกเรอ หรือให้ลูกนั่งเล่นหลังดื่มนม ไม่จับให้นอนในทันที ก็จะทำให้ลูกน้อยห่างไกลกรดไหลย้อนแล้วละค่ะ