
เสียงเพลง เสียงดนตรี สำคัญกับลูกน้อยอย่างไร
เสียงดนตรี เสียงเพลง หรือบทเพลงต่างๆ นั้น เป็นเสียงที่มีอยู่ในทุกๆ ช่วงวัย พูดไม่ได้ว่าเราจะขาดเสียงเพลงไปไม่ได้เลย ในแต่ละช่วงวัย เสียงเพลง เสียงดนตรี คือท่วงทำนองในการบรรเลงควบคู่ไปกับจังหวะชีวิต ตอนเด็กที่เพิ่งออกจากท้องแม่ ก็ได้ยินเสียงเพลงกล่อมเด็ก เสียงเพลงกล่อมนอน หรือแม้แต่เพลงกล่อมเด็กที่ออกมาจากปากของแม่ พอช่วงวัยที่เริ่มเป็นเด็กเล็กก็เปลี่ยนเป็นเพลงที่มีเนื้อร้อง มีทำนองที่สนุกสนานดึงดูดความสนใจขึ้นมาหน่อย เมื่อวัยเริ่มผ่านไปถึงช่วงวัยว้าวุ่น เริ่มมีความรัก บทเพลงที่ฟังก็เริ่มเปลี่ยนไป เมื่อใดที่รักนั้นพ้นผ่านไป บทเพลงที่ฟังนั้นก็เริ่มเศร้าลง บทเพลง เสียงเพลง ดนตรีบรรเลง ต่างก็อยู่กับเราในทุกๆ ช่วงอายุจริงๆ
ดังนั้นเราจะมาพูดถึงเรื่องของเสียงเพลง หรือเสียงดนตรี ในช่วงวัยแรกเกิด หรือวัยทารก จริงๆ แล้วเด็กนั้นจะได้ยินเสียงมาตั้งแต่ในท้องแม่ สังเกตุได้จากที่เรานั้นสามารถใช้เครื่องมือที่ช่วยฟังเสียงของลูกในท้องตัวเองได้ และบางเครื่องมือสามารถทำให้แม่และลูกในท้องนั้นได้ยินเสียงของกันและกัน และสามารถทำให้คุณแม่ฟังเพลงไปพร้อมกับลูกน้อยในท้องได้อีกด้วย ซึ่งเราสามารถใช้จุดนี้มาเป็นข้อดีในเรื่องของการกระตุ้นการรับรู้ของเด็กตั้งแต่อยู่ในท้องเลยก็ได้
จากเมื่อก่อนนั้นเวลาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ มักจะร้องเพลงกล่อมเด็ก หรือคุยกับลูกน้อยในท้องเบาๆ จากนั้นก็รอดูการตอบสนองต่อเสียงที่เราส่งไปถึงลูกในท้อง อาจจะตอบกลับมาด้วยการดิ้นของเด็กในท้อง เพราะเขาได้ยินเสียงเรา เสียงของแม่คือสิ่งเร้าที่จะทำให้ลูกนั้นดิ้นเพื่อตอบสนองนั่นเอง เด็กบางคนอาจจะเตะ ต่อย ดิ้นรุนแรงเมื่อเขาได้ยินเสียงของแม่ นั่นก็คือการตอบสนองต่อเสียงกับเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แต่ในปัจจุบันนั้น มีเสียงดนตรี มีเสียงเพลงกล่อมเด็ก มีดนตรีบรรเลง สำหรับเปิดให้เด็กฟังตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว ก็สามารถเปิดให้ลูกน้อยในท้องฟัง เพื่อกระตุ้นการรับรู้ของลูกน้อยได้
หลังจากที่ใช้เสียงเพลงกระตุ้นการรับรู้ของลูกน้อยในท้องแล้ว เมื่อลูกน้อยออกมาดูโลกใบใหญ่นี้ เสียงเพลงยังเป็นสิ่งสำคัญต่อพวกเขาอย่างต่อเนื่อง ไปดูกันว่า เสียงเพลงแต่ละจังหวะนั้น สำคัญต่อลูกน้อยอย่างไร
- เสียงเพลงในช่วงก่อนนอน
เสียงเพลงที่เราจะใช้เปิดให้ลูกฟังในช่วงก่อนนอนนั้น สามารถเปิดจังหวะช้าๆ ให้ลูกฟังได้ จะเป็นเพลงบรรเลง หรือเสียงดนตรีก็ได้ หรือจะเป็น ซิมโฟนีท่อนที่ 2 โมสาร์ท หรือเพลงของนักดนตรีชื่อดัง ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของเสียงเพลงกล่อมเด็กก็ได้ เพราะเสียงเหล่านี้จะมีคลื่นเสียงทำให้คลื่นสมองนั้นพัฒนา ทำให้เซลล์ประสาทของเด็กนั้นทำงานได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เด็กมีสมาธิ ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีต่อไป
- เสียงเพลงในช่วงที่ลูกตื่น
และในขณะที่ลูกนั้นกำลังสนุกสนานกับการเข้าจังหวะ เราอาจจะชวนลูกตบมือเป็นจังหวะ เพื่อให้ลูกนั้นฝึกการตบมือ ฝึกกล้ามเนื้อ และฝึกการเข้าจังหวะ เป็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันกับแม่ และพ่อ หรือคนอื่นๆ ในครอบครัวได้ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวได้อีกด้วย
นอกจากจะชวนตบมือเข้าจังหวะแล้ว เราอาจจะหาเพลงประกอบท่าทางมาเปิดให้ลูกฟัง แล้วพาลูกทำตามท่าทางในเพลงที่ร้องออกมา แรกๆ ลูกจะไม่เข้าใจความหมาย แต่เมื่อฟังไปเรื่อยๆ เราพาลูกทำท่าประกอบไปเรื่อยๆ เขาจะเข้าใจความหมายเอง เช่น กำมือขึ้นแล้วหมุนๆ เด็กๆ สามารถทำตามได้อย่างง่ายๆ และเข้าใจง่ายด้วย
บทเพลงที่จะเปิดแล้วพาลูกเล่นไปด้วยกันในช่วงที่ลูกตื่นนั้น คุณแม่สามารถหาเพลงมาเปิดได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเพลงไทย เพลงสากล เพลงพื้นบ้าน เพลงประกอบนิทาน ได้ทั้งหมดเลย เพราะลูกๆ นั้น จะได้พัฒนาจิตนาการของพวกเขาไปด้วยในตัว
เรื่องของเสียงนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเสียงดนตรี เสียงเพลงนั้น จะอยู่กับเราไปในทุกๆ ช่วงวัย เราสามารถเลือกเสียงที่เหมาะกับวัยให้กับลูกน้อยของเราได้ เพลงที่หลากหลาย สามารถกระตุ้นการพัฒนาการเรียนรู้ หรือสร้างเสริมจินตนาการด้วยเสียงเพลง ในวัยที่เด็กเริ่มเรียนรู้นั้น เสียงเพลงนั้นสามารถเลือกภาษาที่หลากหลาย ทำให้เด็กที่กำลังเรียนรู้นั้นมีการตื่นตัว และถูกกระตุ้นให้เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง