
ความหนืด ความหยาบ ของอาหารทารกสำคัญอย่างไร

ทำไมเราถึงต้องพูดถึงเรื่องความหนืดของอาหารแต่ละช่วงวัย ก็เพราะว่าปัจจุบันนั้นความหนืดของอาหารแต่ละช่วงวัยนั้นสำคัญมากๆ เพราะทารกในแต่ละวัยนั้นต้องการอาหารที่เป็นอาหารเหลว และมีความหนืด ความละเอียดที่แตกต่างกันออกไป นั่นก็เพราะง่ายต่อการทาน ไม่เป็นอันตราย ปลอดภัย
ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีลูกในวัยที่กำลังหัดทานอาหารเสริม เพิ่มเติมจากมื้อหลัก นั่นก็คือนมแม่ อาจจะกำลังสับสนอยู่ก็ได้ว่า เด็กวัยใด ต้องการอาหารแบบใด เรามีคำตอบให้สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายค่ะ
อาหารเด็กทารก
อาหารของเด็กทารกแรกเกิดนั้นพูดง่ายๆ เลยก็คือนมแม่ นมแม่ล้วนๆ อย่างเดียวเลยไม่ต้องสืบเลยว่าต้องเป็นอาหารประเภทใด ช่วงแรกเกิดจนถึง 6 เดือนแรกนั้น ทารกได้รับสารอาหารที่เพียงพอจากน้ำนมแม่แล้ว ถ้าคุณแม่สุขภาพดี สามารถให้นมลูกได้อย่างเต็มที่ ทารกเติบโตได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด การทานนมแม่อย่างเดียวก็เพียงพอต่อการเติบโตของลูกน้อยไปจนถึง 6 เดือนแรกได้เลย แต่หลังจากนั้น จะต้องเพิ่มเติมสารอาหารบางชนิดให้กับเขาตามวัยของเขาด้วย เช่น เหล็ก สังกะสี โปรตีน ไอโอดีน วิตามินเอ เป็นต้น เพื่อการเจริญเติบโตตามปกติของเขา
แต่ในกรณีที่การเจริญเติบโตของทารกนั้นมีแน้วโน้มที่จะลดลง เช่น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยมาก หรือน้ำหนักตัวไม่เพิ่มเลย หรือคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ทานได้อย่างเต็มที่ อาจจะต้องให้อาหารตามวัยของทารกที่มีอายุก่อน 6 เดือนได้ แต่จะต้องไม่ให้อาหารเสริมก่อนอายุ 4 เดือน และจะไม่ช้าไปกว่าทารกอายุ 6 เดือน ซึ่งจะอยู่ในช่วง 5-6 เดือน ที่จะต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก และพัฒนาการของลูกน้อยว่ามีแนวโน้มไปทางด้านตามเกณฑ์หรือเจริญเติบโตลดลง
ความหนืดของอาหารทารก
เนื่องด้วยทารกนั้นยังไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ อาหารที่เราจะเสริมให้ทารกในแต่ละช่วงวัยนั้นจะต้องเป็นอาหารเหลว แต่อาหารเหลวแต่ละวัยนั้นจะมีความหนืดที่แตกต่างกัน ซึ่งความหนืดของอาหารนั้นจะช่วยในเรื่องของการเพิ่มปริมาณอาหารที่ทารกกินเข้าไปได้ เมื่ออาหารนั้นมีความเข้มข้นของพลังงาน มากกว่าหรือเท่ากับ 1.0 กิโลแคลอรี/กรัม แต่ถ้าอาหารนั้นมีความเข้มข้นของพลังงาน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.0 กิโลแคลอรี/กรัม อยู่แล้ว การลดความหนืดของอาหารลงจะทำให้ไม่มีประโยชน์
ซึ่งในต่างประเทศนั้นการลดความหนืดของอาหารนั้นจะทำโดยการเติม เอนไซม์อะมิเลสลงในอาหาร จะช่วยในเรื่องของการลดความหนืดของอาหารลง แต่ในประเทศไทยนั้น จะใช้การทำให้ข้าวทั้งเมล็ดนั้นทำให้งอก นำไปตากแดด แล้วนำไปบดปนกันข้าวให้เด็กทาน
และการที่เรานั้นทำอาหารที่ใส่เกินไป เช่น โจ๊ก หรือซุปที่มีความใสมากๆ อาจจะทำให้ทารกนั้นได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ และพลังงานที่ไม่เพียงพอด้วยเช่นกัน จะแก้ไขด้วยการทำให้อาหารนั้นมีความเข้มขึ้น หรือจะเพิ่มจำนวนมื้ออาหารที่ป้อนให้แก่ทารกเพิ่มขึ้น หรือจะทำการเติมน้ำลงไปในอาหารก็ได้ แต่การเติมน้ำลงไปในอาหารของทารกนั้นจะทำให้พลังงานและสัดส่วนของสารอาหารที่อยู่ในอาหารนั้น ลดลงด้วยเช่นกัน
ความหยาบของอาหารทารก
นอกจากความหนืดของอาหารทารกแล้ว ยังมีความหยาบของอาหารทารกที่สำคัญต่อการทานอาหารของทารกอีกด้วย เราจะทำการค่อยๆ เพิ่มความหยาบของอาหารทารกขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงวัยทารกอายุ 6 เดือน จะต้องทำอาหารที่มีเนื้อที่ละเอียด โดยเราจะใช้การบดอาหาร การปั่นอาหารสำหรับทารก หรือเราจะบดอหารเหล่านั้นก็ได้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่สามารถหาได้ด้วยไป ไม่ว่าจะเป็น เครื่องปั่นอาหารทารก หรือบดอาหารทารก ที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไป ก็สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน บวกกับความหนืดของอาหารนั้น จะต้องสัมพันธ์กับความหยาบ และวัยของทารกด้วย
ถ้าใช้การบดอาหาร ทารกนั้นจะได้ฝึกรับการฝึกการเคี้ยวอาหาร การกลืนอาหารไปด้วย แต่ถ้าใช้การปั่นอาหาร ต้องดูความละเอียดของอาหารอีกที จะต้องมีความละเอียดที่พอดี ไม่ความหยาบที่พอดี จะไม่ทำให้ละเอียดจนเกินไป จะต้องมีเนื้ออาหารให้ทารกได้เคี้ยวเล็กๆ น้อยๆ ตามช่วงวัยของทารกด้วย เพราะเขาจะได้มีการฝึกการเคี้ยว การกลืนอาหาร เพื่อพัฒนาการขั้นต่อไปของการทานอาหารแบบผู้ใหญ่นั่นเอง
และเมื่อทารกนั้นเริ่มมีการเคี้ยวอาหาร และการกลืนอาหารที่ดี ค่อยเพิ่มระดับความหยาบของอาหารเพิ่มขึ้น จะสังเกตจากการที่เด็กนั้นทานอาหารได้ดีขึ้น ไวขึ้น กลืนได้ไวขึ้น ก็จะเพิ่มความหยาบของอาหารเพิ่มขึ้น และสังเกตว่า ทารกนั้น ได้เริ่มมีการเคี้ยวอาหารที่เพิ่มขึ้น จะทำให้เขานั้นเริ่มมีพัฒนาการทางด้านการเคี้ยวอาหารก่อนกลืนด้วย
การเลือกเครื่องมือการทำอาหารทารกนั้นก็สำคัญเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปั่นอาหารทารก เครื่องบดอาหารทารก ก็สำคัญต่อการทำอาหารสำหรับทารกเช่นกัน เราจะต้องเลือกเครื่องทำอาหารทารกที่สามารถทำอาหารสำหรับทารกได้ ปั่นได้ บดได้ ในระดับความหยาบ ความละเอียด ที่สามารถควบคุมได้ ตามมาตรฐานอาหารทารก
หลังจากนี้คุณพ่อคุณแม่ก็จะมีแนวทางในการเลือกความหนืดของอาหาร ความหยาบของอาหารสำหรับลูกน้อยได้แล้ว ในแต่ละช่วงวัยนั้นอาหารที่ต้องการนั้นมักจะมีความแตกต่างกัน ต้องค่อยๆ ศึกษากันไปค่ะ ลูกแต่ละบ้านนั้นก็มีพัฒนาการที่แตกต่างกัน บางบ้านก็เคี้ยวเก่ง บางบ้านยังไม่ค่อยเก่ง ต้องค่อยๆ สังเกตการเคี้ยว การกลืนอาหารของทารกด้วย
ขอบคุณเครดิตจาก : สสส.