Baby Led Weaning (BLW) เริ่มต้นได้ง่ายๆ

Baby Led Weaning (BLW) เริ่มต้นได้ง่ายๆ

#BLW  #หัดลูกกินเอง  #ฝึกลูกทานเอง  #ฝึกลูกหยิบทานเอง  #ฝึกลูกกินผัก  #ลูกกินเอง #ชามก้นดูด  #ผ้ากันเปื้อน  #ถาดรองอาหาร  #เก้าอี้นั่งกินข้าวเด็ก  #ช้อน  #ส้อม

 

 

Baby Led Weaning (BLW) เริ่มต้นได้ง่ายๆ

          เราเคยพูดเรื่องของ Baby Led Weaning (BLW) คือเรื่องการฝึกให้ลูกนั้นเริ่มหัดหยิบจับทานเอง หรือการฝึกลูกกินข้าวเอง ซึ่งจะสามารถฝึกได้ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป หรือต้องดูจากความพร้อมของเด็กแต่ละคนด้วย เด็กบางคน เมื่อถึง 6 เดือน ก็ยังไม่พร้อมที่จะกินแบบ BLW ก็ได้

ฝึกให้ลูกทาน BLW เมื่อไหร่?

  • เมื่อลูกมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป หรือว่าลูกสามารถนั่งเก้าอี้แบบที่ทรงตัวตรงๆ ได้ด้วยตัวเองแล้ว เพราะการกินอาหารแบบ BLW ต้องให้ลูกนั่งทานอาหารที่โต๊ะ เรื่องนั่งจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
  • ลูกเริ่มหยิบจับของได้แล้ว เพราะการกินแบบ BLW ลูกต้องหยิบจับของกินเอง พ่อแม่มีหน้าที่แค่ทำการสังเกตการณ์เท่านั้น
  • ลูกเริ่มเคี้ยวได้แล้ว มีฟันแล้ว แต่ไม่ต้องมีให้ครบ เพราะเหงือกของลูกแข็งแรง สามารถใช้เคี้ยวอาหารได้ และอาหารที่ให้ลูกทานแบบ BLW ก็ไม่ใช่อาหารที่แข็งจนต้องใช้ฟันกัด

 

#BLW  #หัดลูกกินเอง  #ฝึกลูกทานเอง  #ฝึกลูกหยิบทานเอง  #ฝึกลูกกินผัก  #ลูกกินเอง #ชามก้นดูด  #ผ้ากันเปื้อน  #ถาดรองอาหาร  #เก้าอี้นั่งกินข้าวเด็ก  #ช้อน  #ส้อม

 


ข้อดีของการทานแบบ BLW

  • คุณแม่คุณพ่อไม่เสียเวลาป้อนข้าวลูก
  • พัฒนากล้ามเนื้อมือ
  • พัฒนาด้านการตัดสินใจ
  • ฝึกความสัมพันธ์ตากับมือ
  • ได้รับสารอาหารหลากหลาย
  • ปรับสารอาหารให้ลูกน้อยได้ง่าย
  • สังเกตพฤติกรรมการกินของลูกน้อยได้
  • ได้ลิ้มรสอาหารแปลกใหม่
  • สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว
  • สร้างการมีส่วนร่วมภายในครอบครัวให้ตัวเด็ก


มาฝึก BLW กันเถอะ

  • นั่งร่วมโต๊ะอาหารด้วยกันทุกคนในครอบครัว สร้างช่วงเวลาความสัมพันธ์ในครอบครัว ให้ลูกได้รู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว และโต๊ะอาหาร
  • หั่นอาหารเป็นชิ้นในแบบ BLW
  • เตรียมพื้นที่สำหรับการกิน อาจจะต้องมีถาดรอง ชามก้นดูด ผ้ากันเปื้อน ช้อนส้อมสำหรับเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เลอะเทอะมาก
  • เตรียมความพร้อมให้ลูก ด้วยการล้างมือก่อนทานอาหาร ทำให้เขารู้ว่า ก่อนทานอาหารต้องทำความสะอาดมือก่อน
  • ทำความสะอาดมือหลังทานอาหารเสร็จ
  • เลือกอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย อาหารไม่อ่อน หรือแข็งจนเกินไป ควรเป็นอาหารที่ทำให้สุกนิ่ม หรือเป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย
  • เนื้อสัตว์สามารถเพิ่มให้ลูกน้อยได้ ตามความสามารถในการเคี้ยวอาหารของเขา เช่น เนื้อปลาสุก ตับ เนื้อหมู เนื้อไก่ เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
  • อาหารแต่ละมื้อสามารถผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปตาม อะไรที่ลูกชอบก็คงไว้ อะไรที่ลูกไม่ชอบ ลองอาหารทดแทนคล้ายๆ กันเปลี่ยนให้เขาลองใหม่

 

#BLW  #หัดลูกกินเอง  #ฝึกลูกทานเอง  #ฝึกลูกหยิบทานเอง  #ฝึกลูกกินผัก  #ลูกกินเอง #ชามก้นดูด  #ผ้ากันเปื้อน  #ถาดรองอาหาร  #เก้าอี้นั่งกินข้าวเด็ก  #ช้อน  #ส้อม



การหั่นอาหารแบบ BLW

  • การหั่นอาหารแบบ BLW นั้นเพียงแค่จำเอาไว้ว่า หั่นให้เป็นแนวยาว ให้เท่ากับนิ้วก้อยในช่วง 6 เดือนแรก
  • หลังจาก 9 เดือนไป จะเริ่มหั่นเป็นชิ้นขึ้น ลดความยาว ลดความเป็นแท่ง
  • 12 เดือนขึ้นไป หั่นเป็นชิ้นพอดีคำได้แล้ว



ข้อควรระวัง

  • นมยังคงเป็นอาหารที่สำคัญต่อเด็ก ควรให้กินแบบ BLW 1 มื้่อในแต่ละวัน
  • หากอยู่ในอารณ์ด้านลบ ร้องไห้ งอแง อาจทำใหเกิดการสำลัก หรือคัดค้านการทานแบบนี้
  • ตรวจสอบลูกน้อยทุกครั้ง เฝ้าระวังเรื่องการแพ้อาหาร
  • งดอาหารที่จะทำใหลูกสำลัก เช่น ข้าวโพดคั่ว ผักดิบ ถั่ว องุ่น ลูกเกด

 

          การทานแบบ  BLW นั้นก็มีประโยชน์ การทานแบบ Puree ก็มีประโยชน์เช่นเดียวกัน การให้ลูกทานสลับสับเปลี่ยนกันก็สร้างความไม่น่าเบื่อให้ลูกไปอีกแบบ หรือลูกอาจจะไม่เลือกทานแบบ BLW แต่ชอบทานแบบ Puree มากกว่าก็เป็นได้ บ้านไหนที่การป้อนข้าวลูกลำบากมากๆ ลองใช้วิธีการกินแบบ BLW ก็ดีเช่นเดียวกัน เพราะฉนั้นแบบไหนก็ดีต่อลูกน้อยทั้งนั้น อยู่ที่ว่า คุณพ่อคุณแม่จะเลือกทางไหนนั่นเอง แต่สำหรับเด็กแล้ว นมยังคงมีความสำคัญต่อเขาอยู่ค่ะ

 

อ่านเรื่องเกี่ยวกับ BLW เพิ่มเติมได้ที่นี่  : BLW