car seat RSS
วิธีจัดการกับเจ้าตัวเล็กเมื่อต้องนั่งคาร์ซีทครั้งแรก
คาร์ซีทเป็นอุปกรณ์การเดินทางที่มีความจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับเด็ก โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องพาลูกออกไปนอกบ้านตามลำพงบ่อยๆ คาร์ซีทจะช่วยให้การเดินทางปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่คุณแม่ก็คงจะทราบดีว่า ความหงุดหงิดไม่พอใจสามารถเกิดขึ้นได้กับเจ้าตัวเล็กได้ทุกเมื่อ รวมทั้งเวลาที่นั่งคาร์ซีทด้วยและเมื่อเจ้าตัวเล็กร้องไห้งอแงขณะที่คุณกำลังขับรถอยู่ เสียงร้องไห้ของลูกก็อาจทำให้คุณแม่เสียสมาธิในการขับรถได้ ว่าแต่จะทำยังไงให้เจ้าตัวเล็กเป็นเด็กดีตลอดการเดินทาง หรือแม้ว่าจะหงุดหงิดงอแง คุณแม่ก็สามารถจัดการได้ง่ายๆ เรามีเคล็ดลับมาฝากค่ะ ก่อนที่คุณจะให้ลูกนั่งคาร์ซีทในรถให้นำคาร์ซีทมาให้เจ้าตัวเล็กนั่งเล่นในบ้านเพื่อสร้างความคุ้นเคยก่อน อาจจะช่วยลดความหงุดหงิดงอแงเวลาที่ต้องคาร์ซีทในรถได้ การที่ลูกนั่งคาร์ซีทในรถเป็นครั้งแรกควรเลือกเวลาที่เจ้าตัวเล็กอารมณ์ดี และเป็นการเดินทางระยะสั้นๆ ก่อนเพื่อให้ลูกเกิดความคุ้นเคย และมีความรู้สึกที่ดีต่อการนั่งคาร์ซีท หากคุณให้ลูกนั่งจุ๊มปุ๊กอยู่ในคาร์ซีทนานๆ จะทำให้ลูกเบื่อ และต่อไปลูกจะปฏิเสธที่จะนั่งคาร์ซีทอีก หาของเล่นที่ลูกชอบติดรถไว้ เพราะเวลาที่เจ้าจอมยุ่งเกิดหงุดหงิดขึ้นมา ของเล่นชิ้นโปรดอาจช่วยให้ลูกเพลิดเพลินจนลืมความหงุดหงิดได้ คุณควรหาซีดีเพลงสำหรับเด็กมาเก็บไว้ในรถด้วย เพราะเสียงเพลงเพราะๆ สามารถสยบเจ้าตัวเล็กมาได้นักต่อนักแล้ว สำหรับเจ้าตัวเล็กที่ฟันกำลังจะขึ้นก็เป็นธรรมดาที่ลูกจะหงุดหงิดงอแง ฉะนั้นถ้ามียางกัดสำหรับเด็กติดรถไว้ก็จะมีประโยชน์มาก ถ้ารถของคุณไม่ได้ติดฟิล์มกรองแสง ก็ควรหาผ้ามาแขวนไว้ที่กระจกป้องกันไม่ให้แสงแดดทำร้ายผิวของลูก เพราะความร้อนของแสงแดดก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกหงุดหงิดงอแงได้ ความสบายของคาร์ซีทก็มีผลต่ออารมณ์ของลูก ถ้าลูกนั่งแล้วรู้สึกอึดอัด แถมคุณแม่ยังรัดเข็มขัดให้แน่นอีก แบบนี้เป็นใครก็ต้องอารมณ์เสียแน่นอนค่ะ ถ้าลูกนั่งคาร์ซีทแล้วร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ ให้คุณลองสำรวจดูว่ามีอะไรทิ่มตำหรือหนีบส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายลูกอยู่หรือเปล่า ลูกปวดปัสสาวะหรืออุจจาระไหม หรือว่าหิวนมแล้ว สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เจ้าตัวเล็กหงุดหงิดงอแงได้ทั้งนั้นค่ะ หากเจ้าตัวเล็กเกิดแผลงฤทธิ์ขณะที่คุณกำลังขับรถอยู่ ให้หาที่ตอดรถก่อนแล้วจึงค่อยอุ้มลูกออกมาจากคาร์ซีท อย่าอุ้มลูกออกมาจากรถขณะที่รถติดแล้วให้ลูกนั่งตักขณะที่คุณกำลังขับรถ เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุแล้วต่อไปเจ้าตัวเล็กจะไม่ยอมนั่งคาร์ซีทอีก เป็นอย่างไรบ้างคะ พอจะมีวิธีไหนที่เข้าตาบ้างหรือเปล่าลองนำไปใช้ดูนะคะ อาจจะช่วยให้เจ้าตัวเล็กเป็นมิตรกับคาร์ซีทมากขึ้นก็ได้ค่ะ ที่มา: นิตยสารบันทึกคุณแม่
ทำไมต้องให้ลูกนั่งคาร์ซีท
อย่าคิดว่า คาร์ซีต คือของฟุ่มเฟือยเกินจำเป็น เพราะนี่คือตัวช่วยสำคัญรักษาชีวิต ป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันให้ลูกรักขณะอยู่ระหว่างการเดินทางในรถยนต์ได้ำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เวลาพาลูกเล็กๆ เดินทางไปไหนด้วย ก็มักจะเอาเขามานั่งบนตักของคุณระหว่างขับรถ รู้รึเปล่าว่าการทำแบบนั้นเป็นอันตรายต่อลูกถึงชีวิต เพราะหากมีอุบัติเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น ลูกจะกลายเป็นถุงลมนิรภัยชั้นดีให้คุณแทน ลูกจะเป็นตัวดูดซับแรงกระแทกจากถุงลมนิรภัยให้คุณอีกที และอาจโดนอัดอยู่ระหว่างคุณ กับถุงลมนิรภัย จนขาดอากาศหายใจ หรืออาจกระแทกเข้ากับคอนโซลหน้ารถ หากมีการเบรคแรงๆ อย่างกระทันหันที่นั่งที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็ก คือ เบาะที่นั่งด้านหลัง แต่ถึงกระนั้นวิธีการเอาเด็กนั่งรถยนต์ที่ถูกต้องที่สุด และปลอดภัยกับเด็กที่สุด จะต้องให้เด็กนั่งอยู่บนคาร์ซีต (Car Seat) โดยเอาคาร์ซีตวางไว้บนเบาะหลังอีกที คาร์ซีตจึงไม่ใช่ของเกินความจำเป็น หรือเหมาะกับคนมีเงินเท่านั้น พ่อแม่ที่มีรถขับต้องถือว่าความปลอดภัยของลูกมีความสำคัญสูงสุด อย่าชะล่าใจ เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ โดยไม่จำเป็นต้องให้กฎหมายออกมาบังคับใช้ เหมือนที่ต่างประเทศถึงจะมาค่อยให้ความสำคัญกันหากสงสัยว่าแค่คาร์ซีต หรือเบาะนั่งสำหรับเด็กในรถยนต์ จะช่วยในเรื่องความปลอดภัยได้อย่างไร ให้ลองนึกภาพเสี้ยววินาทีที่เกิดอุบัติเหตุดู ว่าตอนนั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่มีทางจะจับยึดตัวลูกไว้ได้แน่ๆ จึงมีสิทธิ์ที่ลูกจะหลุดกระเด็นออกนอกตัวรถ หรือกระแทกเข้ากับส่วนต่างๆ ของรถได้ แต่คาร์ซีทที่ได้มาตรฐาน และใช้งานอย่างถูกวิธี จะช่วยป้องกันกรณีแบบนี้ได้ ดังนั้นมาดูวิธีเลือกซื้อคาร์ซีตที่ได้มาตรฐานกันดีกว่า1. ควรเลือกคาร์ซีตที่มีขนาดพอดีกับน้ำหนักตัว และส่วนสูงของลูก เพื่อให้ลูกนั่งสบาย และเพื่อที่สายรัดจะได้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องไม่รัดคอลูกให้อึดอัด หรือถูกดึงรั้งตอนเกิดอุบัติเหตุ และไม่หลวมเกินไป จนเด็กหลุดออกจากคาร์ซีทไปกับกระแทกกับส่วนต่างๆของรถ หรือหลุดออกนอกตัวรถ2. คาร์ซีตมาตรฐานมีอยู่ 3 แบบ คือ- Rear-Facing Infant Seats and Convertible Seats คือ คาร์ซีทแบบนั่งหันหน้าไปด้านหลังรถ และแบบปรับเอนไปกับที่นั่ง เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 12 เดือน และเด็กที่น้ำหนักตัวไม่เกิน 10 กก. คาร์ซีทชนิดนี้จะปกป้องหัวของเด็กลำคอ และกระดูกสันหลังได้ดีที่สุด- Forward-facing child seats คือ คาร์ซีตแบบที่นั่งหันไปทางหน้ารถ เหมาะกับเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ขวบและมีน้ำหนักตัวเกิน 9 กก.- Booster seats คือ คาร์ซีตแบบมีพนักพิงด้านหลัง ซึ่งเหมาะกับเด็กที่มีน้ำหนักตัว 15- 18 กิโลกรัม และ Booster seat แบบไม่มีพนักพิงด้านหลัง ซึ่งจะเหมาะกับเด็กที่มีน้ำหนักตัว 22 -25 ก.ก....