0-3Y/เด็กเล็ก RSS
SIDS…ภัยเงียบของลูกวัยเบบี๋
SIDS…ภัยเงียบของลูกวัยเบบี๋ โดย: รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ โรคตายเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ทารก (Sudden Infant Death Syndrome) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ซิดส์ (SIDS) เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีรายงานมากมายในประเทศสหรัฐอเมริกาถึงอัตราการตายกว่าปี ละ 2,500 คน แม้ว่าจะมีการวิจัยมากมาย สุดท้ายก็ยังไม่รู้ต้นเหตุที่แท้จริง และยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ได้ผลดีขวบปีแรกเสี่ยงที่สุด SIDS มักเกิดในเด็กแรกเกิด- 1 ปี ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กอายุ 2-4 เดือน ซึ่งเสียชีวิตขณะนอนหลับ คือนอนแล้วไม่ตื่นอีกเลย โดยที่ก่อนนอนนั้นเด็กไม่มีโรคหรืออาการผิดปรกติแต่อย่างไร แต่มักพบว่า เด็กที่เสียชีวิตด้วยโรค SIDS นั้น ส่วนใหญ่มารดาสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า อายุน้อยกว่า 20 ปี ขณะตั้งครรภ์ เป็นเด็กคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กทารกที่แรกคลอดน้ำหนักตัวน้อย และยังพบในเด็กที่อยู่ในบ้านที่มีผู้สูบบุหรี่อีกด้วยการนอน...ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอันดับ ต้นๆ อีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการทำให้เกิดโรค SIDS ในเด็กที่มักพบบ่อยคือ เด็กมีการนอนที่เสี่ยงดังนี้นอนคว่ำ ท่าที่อันตรายมากที่สุดสำหรับเด็กคือการนอนคว่ำ จากการวิจัยพบว่า การนอนคว่ำเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคการตายฉับพลันของ เด็กทารกโดยไม่ทราบสาเหตุ ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีโครงการ “ให้เด็กนอนหงาย” (Back to sleep) โดยแนะนำให้จัดท่านอนเด็กเป็นท่านอนหงายเสมอตั้งแต่ปี 1992 พบว่าการตายจากโรค SIDS ลดลงอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้น คุณแม่ควรจับเด็กนอนคว่ำบ้าง แต่ทำได้เฉพาะในเวลาเด็กตื่นและมีผู้ดูแลเด็กเฝ้าดูอยู่ใกล้ชิด เพื่อให้เด็กได้ลดโอกาสการเกิดภาวะหัวแบน และได้ออกกำลังต้นแขนและหัวไหล่ให้เกิดความแข็งแรงด้วยถูกนอนทับ สำนักงานความปลอดภัยในผู้บริโภค (CPSC) ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รายงานการตายของเด็กทารก 58 ราย ที่เกิดจากการถูกนอนทับ (Overlying) โดยผู้ร่วมเตียง ภัยแบบนี้ ถ้าไม่บอกกันคุณพ่อคุณแม่ก็คงคาดไม่ถึงกันนะครับ ยิ่งวัฒนธรรมไทยเรา พ่อแม่มักนอนเตียงเดียวกับลูกจนโต แต่ต้องรู้นะว่า การปฏิบัติดังกล่าวมีความเสี่ยงในการนอนทับเด็กเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน คนที่มีความเสี่ยงในการนอนทับเด็กทารกคือคนอ้วน มากๆ คนที่กินยานอนหลับ ยาทำให้ง่วงเช่นยาแก้หวัด ยากล่อมประสาท คนเมาเหล้า และเด็กโต เพราะคนเหล่านี้มักหลับสนิทเกินไป นอนทับแล้วไม่ยอมรู้สึกตัวนอนบนโซฟา มีเหตุการณ์ทารกอายุ 12 วัน...
ท่านอนที่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อย หมอนจัดท่านอนสำคัญอย่างไร
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) หรือ “การตายเฉียบพลันใน เด็กทารก” พบได้ในทารกอายุตั้งแต่ 1 เดือนถึง 1 ปี เป็นการเสียชีวิตที่ไม่หราบสาเหตุ ไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากอะไร โดยเด็กส่วนมากมักจะเสียชีวิตในขณะที่นอนหลับสนิท ดังนั้นการป้องกันเบื้องต้นจึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ หนึ่งในนั้นก็คือท่านอนของลูกน้อย สำหรับท่านอนที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้แก่ “การนอนหงาย” ค่ะ ผลการวิจัยพบว่าการที่ให้ลูกนอนคว่ำนั้น มีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่ามาก โดยเฉพาะเด็กทารกที่ยังไม่สามารถพลิกศีรษะได้ เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะ ขาดอากาศหายใจได้นั่นเองค่ะ ในกรณีที่ลูกน้อยมักพลิกตัวจากท่านอนหงายไปเป็นท่านอนคว่ำอยู่บ่อยๆ นั้น นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยดูและ คอยจับท่านอนลูกให้เป็นท่านอนหงาย การเลือกใช้อุปกรณ์เสริมอย่าง “หมอนจัดท่านอน” (baby sleep positioners) ก็เป็นตัวเลือกที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนนิยมค่ะ เพราะช่วยผ่อนแรงและลดความถี่ของคุณพ่อคุณแม่ในการต้องมาดู ลูกน้อยในระหว่างที่เค้านอนหลับสนิทได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ควรระวังสำหรับการนอนหลับของลูกน้อย เช่น • ที่นอนและหมอนต้องไม่นุ่มจนเกินไป เพราะที่นอนและหมอนที่นุ่มมากๆนั้นจะทำให้ตัวและศีรษะของลูก จมลงไปเมื่อลูกนอน และอาจทำให้หายใจไม่ออกได้ • ในขณะที่ลูกนอน ควรนำของเล่น ตุ๊กตา ผ้า หรือของที่ไม่จำเป็นออกจากที่นอนของลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ สิ่งของเหล่านั้นไปปิดจมูกลูกน้อยในขณะนอนหลับ • ไม่สูบบุหรี่ในบริเวณที่ลูกน้อยอยู่ • คุณพ่อคุณแม่อาจนำลูกมากล่อมที่โซฟาหรือที่เตียงของคุณพ่อคุณแม่ได้ แต่เมื่อลูกน้อยหลับแล้ว ไม่ควร ให้ลูกน้อยนอนบนที่นอนเดียวกับคุณพ่อคุณแม่หรือบนโซฟา ควรให้นอนบนที่นอนหรือเตียงของลูกโดยเฉพาะ และควรนำที่นอนหรือเตียงของลูกมาไว้ในห้องนอนเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถ ช่วยเหลือได้ทัน • ปรับอุณหภูมิของห้องให้พอเหมาะ ไม่หนาวหรือไม่ร้อนจนเกินไป • การห่มผ้าให้ลูกน้อยนั้น ควรห่มให้สูงถึงแค่ระดับหน้าอก ไม่ควรห่มผ้าปิดศีรษะลูกน้อย หากกลัวว่าลูกน้อย จะหนาวก็ควรให้สวมหมวกให้ลูกน้อยแทนค่ะ นอกจากนี้ผ้าห่มที่ใช้ก็ควรเป็นผ้าห่มสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพราะผ้าห่มที่หนาและหนักของผู้ใหญ่อาจไปกดทับหน้าอกลูกน้อยทำให้หายใจไม่ออกได้ และ เพื่อความ ปลอดภัย ควรสอดปลายทั้งสองด้านของผ้าห่มไว้ใต้เบาะที่นอนของลูกด้วยนะคะ cr : nestlebaby
วิธีจัดการกับเจ้าตัวเล็กเมื่อต้องนั่งคาร์ซีทครั้งแรก
คาร์ซีทเป็นอุปกรณ์การเดินทางที่มีความจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับเด็ก โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องพาลูกออกไปนอกบ้านตามลำพงบ่อยๆ คาร์ซีทจะช่วยให้การเดินทางปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่คุณแม่ก็คงจะทราบดีว่า ความหงุดหงิดไม่พอใจสามารถเกิดขึ้นได้กับเจ้าตัวเล็กได้ทุกเมื่อ รวมทั้งเวลาที่นั่งคาร์ซีทด้วยและเมื่อเจ้าตัวเล็กร้องไห้งอแงขณะที่คุณกำลังขับรถอยู่ เสียงร้องไห้ของลูกก็อาจทำให้คุณแม่เสียสมาธิในการขับรถได้ ว่าแต่จะทำยังไงให้เจ้าตัวเล็กเป็นเด็กดีตลอดการเดินทาง หรือแม้ว่าจะหงุดหงิดงอแง คุณแม่ก็สามารถจัดการได้ง่ายๆ เรามีเคล็ดลับมาฝากค่ะ ก่อนที่คุณจะให้ลูกนั่งคาร์ซีทในรถให้นำคาร์ซีทมาให้เจ้าตัวเล็กนั่งเล่นในบ้านเพื่อสร้างความคุ้นเคยก่อน อาจจะช่วยลดความหงุดหงิดงอแงเวลาที่ต้องคาร์ซีทในรถได้ การที่ลูกนั่งคาร์ซีทในรถเป็นครั้งแรกควรเลือกเวลาที่เจ้าตัวเล็กอารมณ์ดี และเป็นการเดินทางระยะสั้นๆ ก่อนเพื่อให้ลูกเกิดความคุ้นเคย และมีความรู้สึกที่ดีต่อการนั่งคาร์ซีท หากคุณให้ลูกนั่งจุ๊มปุ๊กอยู่ในคาร์ซีทนานๆ จะทำให้ลูกเบื่อ และต่อไปลูกจะปฏิเสธที่จะนั่งคาร์ซีทอีก หาของเล่นที่ลูกชอบติดรถไว้ เพราะเวลาที่เจ้าจอมยุ่งเกิดหงุดหงิดขึ้นมา ของเล่นชิ้นโปรดอาจช่วยให้ลูกเพลิดเพลินจนลืมความหงุดหงิดได้ คุณควรหาซีดีเพลงสำหรับเด็กมาเก็บไว้ในรถด้วย เพราะเสียงเพลงเพราะๆ สามารถสยบเจ้าตัวเล็กมาได้นักต่อนักแล้ว สำหรับเจ้าตัวเล็กที่ฟันกำลังจะขึ้นก็เป็นธรรมดาที่ลูกจะหงุดหงิดงอแง ฉะนั้นถ้ามียางกัดสำหรับเด็กติดรถไว้ก็จะมีประโยชน์มาก ถ้ารถของคุณไม่ได้ติดฟิล์มกรองแสง ก็ควรหาผ้ามาแขวนไว้ที่กระจกป้องกันไม่ให้แสงแดดทำร้ายผิวของลูก เพราะความร้อนของแสงแดดก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกหงุดหงิดงอแงได้ ความสบายของคาร์ซีทก็มีผลต่ออารมณ์ของลูก ถ้าลูกนั่งแล้วรู้สึกอึดอัด แถมคุณแม่ยังรัดเข็มขัดให้แน่นอีก แบบนี้เป็นใครก็ต้องอารมณ์เสียแน่นอนค่ะ ถ้าลูกนั่งคาร์ซีทแล้วร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ ให้คุณลองสำรวจดูว่ามีอะไรทิ่มตำหรือหนีบส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายลูกอยู่หรือเปล่า ลูกปวดปัสสาวะหรืออุจจาระไหม หรือว่าหิวนมแล้ว สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เจ้าตัวเล็กหงุดหงิดงอแงได้ทั้งนั้นค่ะ หากเจ้าตัวเล็กเกิดแผลงฤทธิ์ขณะที่คุณกำลังขับรถอยู่ ให้หาที่ตอดรถก่อนแล้วจึงค่อยอุ้มลูกออกมาจากคาร์ซีท อย่าอุ้มลูกออกมาจากรถขณะที่รถติดแล้วให้ลูกนั่งตักขณะที่คุณกำลังขับรถ เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุแล้วต่อไปเจ้าตัวเล็กจะไม่ยอมนั่งคาร์ซีทอีก เป็นอย่างไรบ้างคะ พอจะมีวิธีไหนที่เข้าตาบ้างหรือเปล่าลองนำไปใช้ดูนะคะ อาจจะช่วยให้เจ้าตัวเล็กเป็นมิตรกับคาร์ซีทมากขึ้นก็ได้ค่ะ ที่มา: นิตยสารบันทึกคุณแม่
101 เหตุผลกับนมเเม่
101 เหตุผลกับ นมแม่1.สมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน แนะนำ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2.สถาบันโภชนาการศาตร์สหรัฐอเมริกาส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3.นมแม่ ย่อยง่ายกว่า นมผสมเนื่องจากน้ำนมวัวมีโปรตีนเป็นสองเท่าของน้ำนมคน เด็กกินนมผสมจึงมักจะได้รับโปรตีนมากเกินกว่าที่พวกเขาต้องการ (และส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของโปรตีนที่ย่อยยากอย่างเคซีน) อุจจาระของเด็กกินนมผสมจะมีปริมาณมากกว่าเพราะทารกไม่สามารถดูดซึมโปรตีนได้ทั้งหมด และกำจัดส่วนเกินออกมาทางอุจจาระ ในขณะที่เด็กกิน นมแม่จะดูดซึมเกือบทั้ง 100% ของโปรตีนในน้ำนมคน4.การไม่ให้ลูกดูดนมจากอกแม่เพิ่มความเสี่ยงของแม่ในการเป็นมะเร็งเต้านม5.การที่เด็กทารกดูดนมจากอกแม่ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว6.การเลี้ยงลูกด้วยนมผสม เพิ่มความเสี่ยงของเด็กทารกหญิงในการเป็นมะเร็งเต้านมเมื่อโตขึ้น7.การเลี้ยงลูกด้วยนมผสม มีผลให้เด็กมีภาวะสติปัญญาต่ำกว่าเลี้ยงด้วย นมแม่8.นมแม่ พร้อมดื่มอยู่เสมอ และบรรจุอยู่ในภาชนะที่สวยงามกว่า นมผสม9.นมแม่ ช่วยกำจัดของเสียออกจากระบบขับถ่ายของทารกแรกเกิด10.นมแม่ มีภูมิต้านทานโรคและช่วยในการพัฒนาระบบภูมิต้านทานในเด็กทารก11.การให้ลูกดูดลูกจากอกแม่ตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ของลูก และเพิ่มความผูกพันธ์ระหว่างแม่และลูก12.นมแม่ มีสารอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารก13.การไม่ให้ลูกดูดนมจากอกแม่ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งที่รังไข่14.การให้นมลูกช่วยให้แม่ลดน้ำหนักหลังคลอดบุตรได้อย่างรวดเร็ว15.แม่ที่คลอดก่อนกำหนดจะมีน้ำนมพิเศษ (Pre-term milk) ซึ่งเหมาะสำหรับทาีรกที่คลอดก่อนกำหนด16.องค์การอนามัยโลกและองค์การยูนิเซฟแนะนำให้ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่17.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติในลำไส้18.การดื่มนมผสมเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานในเด็ก19.เด็กกิน นมแม่ ช่วยลดความต้องการอินซูลินในแม่ที่เป็นโีรคเบาหวาน20.การดื่มนมผสมเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กทารก21.นมแม่ ลดความเสี่ยงที่เด็กจะเป็นโรคหอบหืด22.นมผสม เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อทางหูในทารก23.เด็กกินนมผสมมีความเสี่ยงสูงกว่าในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิดในช่วงวัยเด็ก24.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ป้องกันเด็กจากปัญหาความบกพร่องทางสายตา25.นมวัวทำใ้ห้เกิดอาการระคายเคืองในลำไส้26.เด็กกินนมผสมมีโอกาสเป็นโรคอ้วนมากกว่าเมื่อโตขึ้น27.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้แม่ลาป่วยน้อยลง เพราะเด็กที่เลี้ยงด้วย นมแม่ จะแข็งแรงและป่วยน้อยกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมผสม28.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยให้ยับยั้งการเจริญเติบโตผิดที่ของเยื่อบุมดลูก29.การดูดนมของทารกช่วยป้องกันการตกเลือดของมารดาหลังคลอด30.การเลี้ยงทารกด้วยนมผสม ทำให้ทารกมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่ทำให้เสียชีวิตกระทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ (SIDS) เพิ่มขึ้น31.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยป้องกันการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง32.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วย ป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ33.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยป้องกันทารกจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ34.เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สะดวกกว่านมผสมเพราะไม่ต้องเตรียมขวด ไม่ต้องใช้น้ำร้อน35.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีนที่ลูกได้รับ36.นมแม่ ไม่ต้องเสียเงินซื้อ37.นมผสม ราคาแพง38.เราต้องเสียเงินในแต่ละปีหลายหมื่นล้านกับการนำเข้านมผสม และค่ารักษาโรคเด็กทารกที่ป่วยเพราะขาดภูมิคุ้มกันจาก นมแม่39.ทารกที่กินนมแม่ไม่ต้องไปหาหมอบ่อยๆ เพราะแข็งแรงกว่าทารกที่กินนมผสม40.สารอาหารแต่ละชนิดในนมแม่มีสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับทารก41.นมแม่ มีสารเคมีที่ทำให้ลูกสงบและไม่ค่อยงอแง42.การให้ลูกดูดนม ช่วยลดความเครียดให้แม่ ทำให้แม่หลับได้ง่าย43.นมแม่ อร่อยกว่านมผสม44.ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่โดยรวมแล้วมีสุขภาพที่ดีกว่า45.ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่มีโอกาสต่ำที่จะเสียชีวิตก่อนอายุสามขวบ46.นมแม่อุ่นกำลังดี47.ประหยัดค่ารักษาพยาบาลลูก และไม่ต้องเสียเวลาไปหาหมอบ่อยๆ48.ไม่ต้องกังวลเรื่องเลิกขวดนม49.ไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติในการบรรจุหีบห่อเหมือนนมผสม50.นมแม่ไม่เสียง่าย51.การดูดนมจากเต้า ทำให้ลูกมีฟันสวยกว่าดูดจากขวด52.จากการศึกษาพบว่าเด็กที่กินนมแม่มีโอกาสเกิดโรคสายตาสั้นน้อยกว่า53.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยคุมกำเนิดได้54.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดคอเลสเตอรอลสูง55.นมแม่ไม่ต้องแช่เย็น เพราะนมแม่ไม่เสียง่ายเหมือนนมผสม56.นมวัวเหมาะสำหรับลูกวัว นมแม่เหมาะสำหรับลูกคน57.นมแม่ช่วยให้การทำงานของลำไส้พัฒนาขึ้นอย่างเหมาะสม58.นมแม่มีเอ็นดอร์ฟิน ช่วยลดความเจ็บปวดให้ลูกได้โดยธรรมชาติ59.นมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารกที่ป่วย60.แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองนอนหลับได้มากกว่า (โดยเฉพาะนอนกับลูก)61.ทารกที่กินนมแม่มีความสุขมากกว่าในตอนกลางคืน เพราะไม่ต้องรอชงนม62.ลูกกินนมแม่ คุณพ่อสบายกว่าในตอนกลางคืน63.เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ใดๆ ให้ยุ่งยาก64.นมแม่ไม่เคยถูกเรียกเก็บคืนจากท้องตลาด เพราะเกิดปัญหาในการผลิต65.นมแม่ไม่ติดเชื้อแบคทีเรีย66.ไม่ต้องกังวลว่ายี่ห้อไหนจะดีกว่ากัน67.ไม่ต้องกังวลว่าน้ำที่ใช้ชงนมจะสะอาดพอหรือเปล่า68.ทารกที่กินนมแม่ติดเชื้อในลำไส้น้อยกว่า69.การดูดนมแม่ช่วยให้ช่องปากและขากรรไกรมีพัฒนาการดีกว่า70.ทารกที่กินนมแม่เกิดฟันผุน้อยกว่า71.ทารกที่กินนมแม่ ฟันเป็นระเบียบมากกว่า ไม่ต้องจัดฟันในภายหลัง72.ทารกที่กินนมแม่มีพัฒนาการทางการพูดดีกว่า73.นมแม่ช่วยลดการเกิดผื่นภูมิแพ้74.ทารกที่กินนมแม่มีผิวพรรณสดใสกว่า75.ทารกที่กินนมแม่แหวะนมน้อยกว่า76.นมแม่เหมาะสำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมากกว่านมผสม77.นมแม่ไม่มีส่วนผสมของสารตัดแต่งพันธุกรรม78.นมแม่ไม่มีฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต79.การให้นมลูกช่วยป้องกันการขาดธาตุเหล็กของแม่80.ไม่ต้องกังวลว่าจะพบในภายหลังว่าขาดส่วนผสมใดไปบ้างเหมือนนมผสม81.แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองช่วยประหยัดค่าผ้าอนามัย82.น้ำนมแม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อทางตา83.เด็กกินนมแม่ตัวหอมกว่า84.เด็กกินนมแม่มีพัฒนาการทางสังคมดีกว่า85.หน้าอกของแม่ถูกออกแบบมาเพื่อการให้นมลูก86.การให้นมลูกช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเองให้กับแม่87. การไม่ได้กินนมแม่มีความเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis หรือ MS) ตอนอายุมากขึ้น88. การดูดนมช่วยให้การทำงานประสานกันระหว่างมือกับสายตาของเด็กทารกดีขึ้น89. การกินนมแม่ลดโอกาสเป็นโรคไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (inguinal hernia)90. การกินนมแม่อาจจะทำให้ความดันโลหิตในวัยเด็กลดลง91. การเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กกินนมแม่น่าอึดอัดน้อยกว่า เพราะอุจจาระของเด็กกินนมแม่กลิ่นรุนแรงน้อยกว่าเด็กกินนมผสม92. การกินนมแม่ช่วยให้ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยมีพัฒนาการด้านความคิดและสติปัญญาดีกว่า93. การกินนมแม่ลดความเสี่ยงที่เด็กทารกจะมีอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ94. การกินนมแม่ลดโอกาสการเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ rheumatoid arthritis95. การกินนมแม่ลดโอกาสที่เด็กจะเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน Hodgkins disease96. การกินนมแม่ลดโอกาสการเป็นโรคกระดูกพรุน97. เด็กทารกที่กินนมแม่ มีโอกาสเกิดปัญหาเกี่ยวกับ การหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต ในขณะกินนม น้อยกว่าทารกกินนมผสม98. ทารกกินนมแม่มีโอกาสเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังน้อยกว่า...
ทำไมต้องให้ลูกนั่งคาร์ซีท
อย่าคิดว่า คาร์ซีต คือของฟุ่มเฟือยเกินจำเป็น เพราะนี่คือตัวช่วยสำคัญรักษาชีวิต ป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันให้ลูกรักขณะอยู่ระหว่างการเดินทางในรถยนต์ได้ำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เวลาพาลูกเล็กๆ เดินทางไปไหนด้วย ก็มักจะเอาเขามานั่งบนตักของคุณระหว่างขับรถ รู้รึเปล่าว่าการทำแบบนั้นเป็นอันตรายต่อลูกถึงชีวิต เพราะหากมีอุบัติเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น ลูกจะกลายเป็นถุงลมนิรภัยชั้นดีให้คุณแทน ลูกจะเป็นตัวดูดซับแรงกระแทกจากถุงลมนิรภัยให้คุณอีกที และอาจโดนอัดอยู่ระหว่างคุณ กับถุงลมนิรภัย จนขาดอากาศหายใจ หรืออาจกระแทกเข้ากับคอนโซลหน้ารถ หากมีการเบรคแรงๆ อย่างกระทันหันที่นั่งที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็ก คือ เบาะที่นั่งด้านหลัง แต่ถึงกระนั้นวิธีการเอาเด็กนั่งรถยนต์ที่ถูกต้องที่สุด และปลอดภัยกับเด็กที่สุด จะต้องให้เด็กนั่งอยู่บนคาร์ซีต (Car Seat) โดยเอาคาร์ซีตวางไว้บนเบาะหลังอีกที คาร์ซีตจึงไม่ใช่ของเกินความจำเป็น หรือเหมาะกับคนมีเงินเท่านั้น พ่อแม่ที่มีรถขับต้องถือว่าความปลอดภัยของลูกมีความสำคัญสูงสุด อย่าชะล่าใจ เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ โดยไม่จำเป็นต้องให้กฎหมายออกมาบังคับใช้ เหมือนที่ต่างประเทศถึงจะมาค่อยให้ความสำคัญกันหากสงสัยว่าแค่คาร์ซีต หรือเบาะนั่งสำหรับเด็กในรถยนต์ จะช่วยในเรื่องความปลอดภัยได้อย่างไร ให้ลองนึกภาพเสี้ยววินาทีที่เกิดอุบัติเหตุดู ว่าตอนนั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่มีทางจะจับยึดตัวลูกไว้ได้แน่ๆ จึงมีสิทธิ์ที่ลูกจะหลุดกระเด็นออกนอกตัวรถ หรือกระแทกเข้ากับส่วนต่างๆ ของรถได้ แต่คาร์ซีทที่ได้มาตรฐาน และใช้งานอย่างถูกวิธี จะช่วยป้องกันกรณีแบบนี้ได้ ดังนั้นมาดูวิธีเลือกซื้อคาร์ซีตที่ได้มาตรฐานกันดีกว่า1. ควรเลือกคาร์ซีตที่มีขนาดพอดีกับน้ำหนักตัว และส่วนสูงของลูก เพื่อให้ลูกนั่งสบาย และเพื่อที่สายรัดจะได้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องไม่รัดคอลูกให้อึดอัด หรือถูกดึงรั้งตอนเกิดอุบัติเหตุ และไม่หลวมเกินไป จนเด็กหลุดออกจากคาร์ซีทไปกับกระแทกกับส่วนต่างๆของรถ หรือหลุดออกนอกตัวรถ2. คาร์ซีตมาตรฐานมีอยู่ 3 แบบ คือ- Rear-Facing Infant Seats and Convertible Seats คือ คาร์ซีทแบบนั่งหันหน้าไปด้านหลังรถ และแบบปรับเอนไปกับที่นั่ง เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 12 เดือน และเด็กที่น้ำหนักตัวไม่เกิน 10 กก. คาร์ซีทชนิดนี้จะปกป้องหัวของเด็กลำคอ และกระดูกสันหลังได้ดีที่สุด- Forward-facing child seats คือ คาร์ซีตแบบที่นั่งหันไปทางหน้ารถ เหมาะกับเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ขวบและมีน้ำหนักตัวเกิน 9 กก.- Booster seats คือ คาร์ซีตแบบมีพนักพิงด้านหลัง ซึ่งเหมาะกับเด็กที่มีน้ำหนักตัว 15- 18 กิโลกรัม และ Booster seat แบบไม่มีพนักพิงด้านหลัง ซึ่งจะเหมาะกับเด็กที่มีน้ำหนักตัว 22 -25 ก.ก....