Child development RSS
รู้จักโรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ Montessori
โรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ Montessori เป็นโรงเรียนทางเลือก ที่กำลังได้รับความนิยม และผู้ปกครองที่กำลังมองหาโรงเรียนให้ลูกให้ความสนใจ มาทำความรู้จักกับหลักสูตรของโรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ Montessori ว่าเป็นอย่างไร มีรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบไหน และลูกจะได้อะไรจากการเรียนโรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ Montessori บ้าง ที่มาของโรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่โรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Method) คิดค้นและจัดตั้งขึ้นโดย แพทย์หญิงมาเรีย มอนเตสซอรี่ (Dr.Maria Montessori) ซึ่งมีปรัชญาว่าจิตที่เกิดมาพร้อมกับเด็กได้กำหนดลักษณะนิสัยของเด็กมาก่อน แต่สภาพแวดล้อมที่ดีที่เหมาะกับการเรียนสำหรับเด็ก จะช่วยส่งเสริมสิ่งที่เด็กมีอยู่ในตัว ดังนั้นการศึกษาในระยะเริ่มต้นของเด็กควรได้รับปลูกฝังให้เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติและความต้องการของเขา ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น หลักการของการสอนแบบมอนเตสซอรี่ พัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการ ตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน ในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ขวบ เป็นช่วงที่จิตซึมซับสิ่งแวดล้อมโดยไร้ความรู้สึก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การมองเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การดมกลิ่น และการสัมผัส เด็กใช้จิตในการหาความรู้ การเรียนรู้ในระยะแรกของชีวิต เป็นช่วงพัฒนาสติปัญญา เด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้ดี ครูต้องช่างสังเกต และใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่าง มีจุดหมาย มีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเอง เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้ระเบียบวินัยของชีวิต มีอิสระภาพในการทำงานและแก้ไขข้อบกพร่องเด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ลดวิธีการให้ครูเป็นศูนย์กลาง แต่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนเพิ่มขึ้น หลักสูตรของโรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่คำนึงถึงความต้องการของเด็กในการเรียน โรงเรียนจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง วิธีนี้เด็กจะได้พัฒนาตนเองจากสิ่งแวดล้อม และเครื่องมืออุปกรณ์ที่จัดระบบไว้ให้ และสิ่งแวดล้อมที่จัดเอาไว้ให้นี้เองเป็นตัวที่ทำให้เด็กมีอิสระ การที่เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ จะทำให้เด็กได้ในสิ่งที่ต้องการจากการค้นหาการเรียนรู้ ได้รับเสรีภาพในขอบเขตที่จำกัด จากสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้ให้ และจะทำให้เด็กได้รับผลสำเร็จตามความต้องการของเขา โรงเรียนแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ อุปกรณ์การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ทั่วโลกจะใช้อุปกรณ์การสอนแบบเดียวกันทั้งหมด แต่สามารถให้ใช้อุปกรณ์บางอย่างที่ทำขึ้นจากวัสดุท้องถิ่นได้ ในห้องเรียนจะไม่มีโต๊ะและเก้าอี้ครู ภายในห้องมีชั้นวางของ ซึ่งอยู่ในระดับสายตาเด็กบนชั้นมีอุปกรณ์แบบมอนเตสซอรี่จัดวางไว้ เป็นหมวดหมู่ มีตำแหน่งการวางที่แน่นอน มีเพียงหนึ่งชิ้นต่อหนึ่งอุปกรณ์เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักรอคอย ครูผู้สอนจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการสอนจากศูนย์ฝึกอบรมครูระบบมอนเตสซอรี่ การประเมินผลระบบมอนเตสซอรี่จะใช้การสังเกต ความสามารถในการทำกิจกรรม ของเด็กในแต่ละกลุ่มวิชา การใช้อุปกรณ์การเรียนในแต่ละชิ้น จุดเด่นและกิจกรรมแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ในโรงเรียนมอนเตสซอรี่กิจกรรมถือเป็นส่วนสำคัญ ที่เด็กเล็กจะเรียนด้วยร่างกายทั้งหมด โดยเน้นทางด้านการฝึกฝนทางประสาทสัมผัส กิจกรรม หรืองานที่เด็กทำจะต้องมีความหมาย อุปกรณ์การเรียนได้วางรูปแบบเอาไว้ให้เด็กได้ทำงานต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอนงานจะกระตุ้นทำให้เด็กทำงานต่อไปกิจกรรมแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เด็กจะได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง จากการใช้สื่อและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กเข้าใจง่าย สิ่งสำคัญของเรียนแนวมอนเตสซอรี่ คือ มือ เพราะเด็กจะสามารถเรียนรู้ทุกอย่างผ่านมือของตัวเอง โดยมีคุณพ่อคุณแม่และครูเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และทำทุกอย่างด้วยตัวเอง เด็กจะรู้สึกมีอิสระในการหยิบจับอุปกรณ์ที่เขาสนใจมาทำ หากทำไม่ได้ เด็กจะนำไปเก็บและหยิบอุปกรณ์ชิ้นอื่นมาแทน ทั้งนี้การฝึกฝนจากอุปกรณ์ที่ง่ายไปสู่อุปกรณ์ที่ยากเป็นไปตามพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก กิจกรรมมอนเตสซอรี่ มี 3...
เลือกของเล่นเสริมพัฒนา ให้เหมาะสมกับวัยของลูกน้อย 0-1 ปี
เทคนิควิธีเลือกของเล่นให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กวัยขวบปีแรก คุ้มค่าและช่วยฝึกพัฒนาการลูกได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย1. เด็กแรกเกิด - 3 เดือน+ ของเล่นที่สามารถติดบริเวณเตียงหรือเปลได้ เช่น โมบายล์ ตุ๊กตาของเล่นแขวนที่ขอบเปลนิ่มๆ เป็นต้นประโยชน์ : ลูกนอนมองโมบายล์อย่างสบายอารมณ์และเพลิดเพลิน แถมยังเอามือไขว่เอื้อมคว้าด้วย+ ของเล่นควรสีสลับให้เห็นอย่างเด่นชัด เช่น สีขาว-ดำ แดง-ขาว เขียว-น้ำเงิน บางชนิดทันสมัยมีกระจกเงาเล็กสะท้อนแสงแวบๆ ด้วยประโยชน์ : เนื่องจากช่วง 3 เดือนแรกนี้ สายตาเด็กจะมองเห็นสิ่งของที่มีสีสันตัดกันได้ชัดกว่าสีเรียบๆ ลูกจะรู้จักมองตามของเล่น แม้ในตอนนี้จะมองได้ไม่ชัดเท่าผู้ใหญ่ อีกทั้งภาพและแสงสะท้อนในกระจกก็เรียกความสนใจได้ดีเช่นกัน+ มีเสียงดนตรีหรือเสียงกรุ๊งกริ๊งอยู่ในของเล่นประโยชน์ : เด็กจะพยายามหาต้นกำเนิดของเสียง เพิ่มความสนใจของเล่นที่แขวนอยู่ในเปลได้อีกด้วย2. วัย 4 เดือน - 6 เดือนวัยนี้สามารถเคลื่อนไหวตัวได้มากขึ้น และมีพัฒนาการหลายอย่างมากขึ้นด้วย เช่น การคว้าจับถนัดขึ้น ฟันเริ่มขึ้น มองเห็นชัดขึ้น ฉะนั้นของเล่นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ากับพัฒนาการลูกได้ด้วย+ ยางกัดนิ่มๆ ควรเลือกที่ได้คุณภาพเป็นพลาสติกหรือยางที่มีความคงทนแข็งแรง เมื่อบีบดูแล้วไม่มีของเหลวข้างในไหลออกมา เลือกสีสันให้สดใสหรือมีลูกเล่นข้างในยางกัดด้วยก็ได้ประโยชน์ : วัยนี้ฟันกำลังขึ้น ถ้าสังเกตจะเห็นว่า ลูกจะชอบหยิบจับของเข้าปาก จึงควรเตรียมยางกัดเอาไว้เป็นของเล่นแก้คันเหงือกดีกว่าคว้าของอย่างอื่นมากัดเล่น+ กรุ๊งกริ๊งหรือตุ๊กตานิ่มที่มีเสียงกระดิ่งดังข้างใน แต่ต้องสังเกตด้วยว่ากระดิ่งและสีไม่หลุดลอกง่าย พลาสติกต้องไม่มีขอบคม แตกหักยาก สีสดใสเหมาะมือ ประโยชน์ : ลูกเริ่มใช้มือในการคว้าจับ และถ้ามีเสียงด้วย ก็จะยิ่งอยากจับและเขย่า ช่วยให้ลูกใช้มือและกล้ามเนื้อแขนได้ดีขึ้นเรื่อยๆ3.วัย 7 เดือน - 9 เดือนนั่งได้ถนัดถนี่ บางคนก็เริ่มคลานคล่องแล้ว ของเล่นก็ต้องเพิ่มลูกเล่นไปตามศักยภาพของลูก ให้สมกับวัยนักสำรวจตัวน้อย+ เลือกเครื่องเล่นที่ต้องใช้ทักษะหลายๆ ด้าน เช่น กดแล้วมีเสียงต่างๆ ต้องใช้การหมุน บิด ตี ดึง เป็นต้นประโยชน์ : นักสำรวจน้อย จะหยิบๆ จับๆ ของเล่นและหัดเล่น เรียนรู้ด้วยตนเอง ของเล่นที่หลากหลายจะเพิ่มทักษะและประสบการณ์ชีวิตได้อย่างไม่น่าเบื่อ+ บล๊อกอันเล็กๆ ทรงสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม หรือตัวต่อทักษะง่ายๆ ทำจากไม้หรือผ้าประโยชน์ : ได้ใช้ความคิดหยิบจับไปวางตรงนู้นตรงนี้ ตาเริ่มสัมพันธ์กับมือไปเรื่อยๆ+ หนังสือก็เป็นของเล่นได้เหมือนกัน แต่ควรเป็นหนังสือที่มีภาพสวยงามสดใส...
DRAMATIC PLAY IDEAS & ACTIVITIES FOR CHILDREN
DRAMATIC PLAY IDEAS & ACTIVITIES FOR CHILDRENไอเดียการละเล่น และกิจกรรมต่างๆในละครฉากเล็กของเด็ก ในเมื่อมันดีย์ขนาดนี้ ในฐานะพ่อแม่ ผู้ปกครอง พี่เลี้ยง จะไม่ให้เล่นก็กะไรอยู่ และถ้ายิ่งเด็กๆได้เล่นสมมติในที่ๆใกล้หูใกล้ตาเรา ก็จะสังเกตได้อย่างชัดเจนถึงพัฒนาการกันเลยทีเดียว และเรามั่นใจว่าเมื่อพวกคุณได้รับรู้ ได้สัมผัสกับความคืบหน้าที่ดีขนาดนี้ก็คงอดไม่ได้ที่จะสรรหาวิธีเล่นต่างๆ มาให้น้องๆ เพื่อพัฒนาการ การเรียนรู้ และความสนุก ที่ต่อเนื่อง (ซึ่งส่งผลดีต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของน้องในภายภาคหน้าอีกด้วย) ตัวอย่างแนวคิดเบาๆเราไปดูกัน สร้างสรรค์เรื่องราวมาครอบการเล่น ที่ไม่เพียงแค่เล่นบทบาทสมมติ (Use stories) เชิญชวนให้เด็กลองหัดสร้างเรื่องราวของตัวเอง โดยหัดเริ่มจากปรับใช้จากเรื่องราวที่เด็กชอบ ในขณะที่เรื่องราวดำเนินไป ก็ลองให้เด็กๆ เพิ่มเติมเสริมแต่งเนื้อเรื่องที่เป็นของตัวเองให้ด้วยเรื่อยๆ จบเกือบจะจบ หรือหากมีตอนต่อไป ก็ตั้งคำถามให้เด็กชวนคิดว่า “คิดว่าตอนจบจะเป็นยังไงดี?” “เรื่องราวตอนต่อไปจะเป็นอย่างไรเหรอ?” หรือ “ถ้าเรื่องราวไม่เป็นไปถามที่คิดไว้ล่ะ / แล้วถ้าน้องหมาตัวนี้หากระดูกไม่เจอจะทำยังไงดีเหนอ?” ผูกปมให้เด็กคลาย สร้างปัญหาให้เด็กคิดต่อ เพื่อจุดประกายไอเดียในการสรรสร้างและแก้ปัญหาให้เด็ก ให้ตุ๊กตา หรือหุ่นเชิดน้อยๆ เพื่อใช้แทนการแสดงในละครฉากเล็กๆ (Provide dolls and puppets) พ่อแม่อย่าเพิ่งคิดว่า ตุ๊กตา ของเล่นรูปสัตว์ หรือแม้แต่หุ่นมือตุ๊กตากระดาษแฮนด์เมด จะเป็นเพียงแค่ของเล่นเท่านั้น เพราะเมื่อของเล่นเหล่านี้เข้าสู่โลกแห่งจินตนาการเมื่อไหร่แล้ว โลกใบน้อยของเด็กก็จะมีชีวิตชีวาขึ้นทันใด เพราะเด็กๆจะแสดงออกต่อสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็น อารมณ์ความรู้สึก และไอเดียที่หลากหลาย จะวิ่งเข้าหาตัวละครตัวน้อยๆที่เด็กน้อยสร้างขึ้นมาทันที เตรียมกล่องพร๊อพให้น้องพร้อมเล่น(Create “prop boxes”)พร๊อพ “prop” คืออะไร ในภาษาเด็กศิลป์ก็คือของตกแต่ง อุปกรณ์ประกอบการแสดง etc. เพราะฉะนั้นแล้ว prop box ของเล่นก็ไม่แตกต่างกัน เพราะมันคือ กล่องที่บรรจุอุปกรณ์การแสดงสมมติของน้องนั่นเอง ซึ่งสิ่งที่เราแนะนำให้พ่อแม่ต้องทำคือ หากล่องอะไร หรือภาชนะประเภทใดก็ได้ที่สามารถบรรจุอุปกรณ์ประกอบเหล่านี้ได้ หลายๆใบ แล้วแยกบรรจุตามตีม หรือเรื่องราวที่น้องเล่นสมมติ กล่องเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นผู้นำไกด์ไลน์ให้น้องคิดครีเอทเรื่องราวของตัวเองต่อไปได้ในหลายทิศทาง ยกตัวอย่างตีมกล่องพร๊อพที่นิยมกัน เช่น ร้านดอกไม้ ออฟฟิศ ภัตตาคาร ไปรษณีย์ และร้านรองเท้า เป็นต้น ให้เวลา และใส่ใจ กับกิจกรรมมากประโยชน์ (Make time) อุปกรณ์ไม่ครบ...