pregnancy RSS
แม่ท้องมือใหม่ ดูแลตัวเองอย่างไร
แม่ท้องมือใหม่ ย่อมกังวลกับท้องแรก จะดูแลสุขภาพอย่างไร อยากสวยอยากเฟิร์มในช่วงตั้งครรภ์แต่ไม่รู้ว่าทำอะไรได้บ้าง และอีกสารพัดเรื่องกังวลสำหรับแม่ท้องมือใหม่ พญ. เมสิตา สุขสมานวงศ์ สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์มารดา และทารกในครรภ์ จึงมีคำตอบคลายข้อสงสัย พร้อมแนะวิธีดูแลตัวเอง และลูกน้อยให้สมบูรณ์แข็งแรงตลอดช่วงตั้งครรภ์ค่ะเตรียมตัวก่อน ยิ่งเร็วยิ่งดี เรื่องสุขภาพโดยรวมควรเตรียมตัวตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เทียบกันแล้วคนที่เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ ย่อมดีกว่าคนที่ตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว วิธีเตรียมตัวก็ง่ายๆ เพียงดูแลให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายบ้าง ทานอาหารที่มีประโยชน์ มีพิเศษคือควรกินโฟเลตบำรุงตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันความพิการบางอย่างให้ลูกน้อย ควรตรวจสุขภาพว่าเรามีโรคประจำตัวอะไรบ้าง และดูว่าเรามีภูมิคุ้มกันหรือได้รับวัคซีนต่างๆ เพียงพอหรือยัง ถ้าตรวจทุกอย่างเรียบร้อยและไม่มีปัญหาอะไรก็สามารถตั้งครรภ์ได้อย่างสบายใจ ส่วนคนที่มีโรคประจำตัวก็ไม่ได้หมายความว่าตั้งครรภ์ไม่ได้นะคะ เพียงแต่ต้องควบคุมโรคให้ดีก่อน ก็จะทำให้การตั้งครรภ์มีความปลอดภัยมากขึ้นค่ะอาหารที่แม่ท้องต้องกิน จริงๆ แล้วแม่ท้องต้องการปริมาณอาหารเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 300 กิโลแคลอรีต่อวันเท่านั้น ไม่ได้ต้องการเยอะมากอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ แม่มักจะคิดว่ากินอะไรให้ลูกโต กินอะไรให้ลูกแข็งแรง กินอะไรให้ลูกฉลาด จริงๆ แล้วทางการแพทย์ไม่ได้บอกว่าต้องกินอะไรกันแน่ เพียงแค่กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ และกินให้หลากหลายก็เพียงพอแล้วค่ะ เช่น วันนี้กินปลา วันพรุ่งนี้กินอกไก่ วันต่อไปกินหมู ลูกก็จะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และหลากหลายตามไปด้วยน้ำมะพร้าว : กินแล้วแท้ง VS กินแล้วลูกผิวสวย คุณแม่ส่วนหนึ่งเชื่อว่าน้ำมะพร้าวทำให้แท้งง่าย อีกส่วนหนึ่งเชื่อว่าน้ำมะพร้าวทำให้ลูกผิวสวยและไม่มีไขติดตัวตอนคลอด แท้จริงแล้วเป็นความเชื่อที่ผิดหมดค่ะ เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีในน้ำมะพร้าวไม่ได้มีส่วนในเรื่องของการแท้ง เพียงแต่คุณแม่ตั้งครรภ์มีฮอร์โมนตัวนี้มากพออยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องกินเพิ่ม และไขที่ติดตัวทารกตอนเกิด จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ที่คลอด ยิ่งคลอดในช่วงอายุครรภ์น้อยยิ่งมีไขเยอะ เพราะฉะนั้นหากคุณแม่อยากกินน้ำมะพร้าวก็กินได้ค่ะ แต่ไม่ควรกินเยอะ เพราะน้ำมะพร้าวมีน้ำตาลสูง กินมากก็อาจทำให้น้ำตาลขึ้นและเป็นเบาหวานหรืออ้วนได้ค่ะแม่ท้องทำน้ำหนักรับขวัญลูกน้อย หมอแนะนำให้คุณแม่ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หากคุณแม่มีน้ำหนักตามมาตรฐานปกติขณะตั้งครรภ์ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มโดยรวมคือ 12-18 กิโลกรัม แต่หากคุณแม่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานอยู่แล้ว แนะนำว่าในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรมีน้ำหนักเพิ่มเพียง...
เรื่องของเต้านมคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอด
บางทีคุณแม่หลายท่านอาจจะกำลังกังวลเกี่ยวกับเต้านมที่มี ลักษณะเปลี่ยนไปหลังจากคลอดน้อง วันนี้ Admin เลยนำบทความเกี่ยวกับเรื่องของเต้านมคุณแม่มาฝากเพื่อเป็นเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ค่ะ เต้านมจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมหรือไม่ ช่วงตั้งครรภ์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเต้านม และจะมีเปลี่ยนแปลงไปอีกเมื่อมีการให้นมลูก แล้วในท้ายสุดหากคุณแม่หยุดให้นมลูกเต้านมจะเป็นอย่างไรนั้น เรามาดูคำถามต่างๆที่อยู่ในใจ คุณแม่กันดีกว่า 1. ขนาดและรูปทรงเต้านมจะเปลี่ยนไปหรือไม่ ช่วงระหว่างตั้งครรภ์และให้นมลูกนั้น โดยเฉลี่ยแล้วคุณแม่ส่วนมากทรวงอกจะใหญ่ขึ้น 2 คัพ หลังจากคลอดแล้วประมาณ 1 ปี ทรวงอกของคุณแม่จะกลับมามีขนาดประมาณเท่าเดิม แต่ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับความแตกต่างในคุณแม่แต่ละคน ส่วนของรูปทรงและ ความเต่งตึงนั้นส่วนใหญ่จะไม่กลับมาเท่าเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์ 2. สีของหัวนมจะเป็นอย่างไร สีของหัวนมอาจจะไม่ขนาด กลับไปเป็นสีเดิมก่อนตั้งครรภ์ แต่จะค่อยๆจางลง ไม่คล้ำเท่าช่วงตั้งครรภ์ 3. วิธีปฎิบัติที่จะให้เต้านมกลับไปใกล้เคียงกับทรงเดิม เวลาที่คุณแม่พาลูกออกไปเดินเล่น ก็สามารถปฎิบัติตน เพื่อให้เต้านมกลับมากระชับได้เช่นเดิมได้ โดยเริ่มด้วยการเดินด้วยท่วงท่า ที่เหมาะสม จะช่วยในการให้เต้านมกลับมากระชับได้เช่นกัน รวมทั้งการรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามิน เช่น กุยช่ายซึ่งเป็น ผักที่ช่วยคืนความเต่งตึงให้กับผิวหนังได้ 4. การบริหารร่างกายเพื่อกระชับทรวงอก การปรับปรุงท่วงท่าให้เหมาะสมและถูกต้องจะช่วยทำให้ เต้านมที่หย่อนไปแล้ว มีการเสริมสร้างกล้ามเนื้อมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ การกระชับทรวงอกได้โดยเพียงทำตามข้อแนะนำง่ายๆที่ทำได้ ถึงแม้คุณแม่ไม่ค่อยมีเวลาก็สามารถปฎิบัติตามได้ ท่าบริหารร่างกายเพื่อทรวงอกกระชับ ท่าที่ 1 เอาฝ่ามือทั้งสองข้างกดลงที่ด้านหน้าของหน้าอก แล้วหายใจออกช้าๆพร้อมกับกดอย่างแรงโดยต้องให้น้ำหนักมือที่กดของแต่ละข้าง ออกแรงเท่าๆกันโดยออกแรงเข้าหาจุดศูนย์กลางค้างไว้ 10-20 วินาที ท่าที่ 2 โน้มตัวไปข้างหน้า ยกดัมเบลขึ้นลง (หากไม่มีดัมเบลจะใช้ขวดน้ำพลาสติกที่ใส่น้ำเอาไว้ข้างในก็ได้) ท่าที่ 3 นั่งลงบนพื้นแล้ววางมือทั้งสองข้างไว้ด้านหลัง เหยียดขาข้างใดข้างหนึ่งออกไปข้างหน้าแล้วพับขาอีกข้างหนึ่งไขว้ไว้ใต้ข้อพับเข่า ของข้างที่เหยียดออกไป พยุงลำตัวส่วนบนด้วยแขนทั้งสองข้าง ปล่อยคอและไหล่ตามสบาย หันหน้าอกขึ้นไปด้านหาเพดาน จากนั้นยกสะโพกเอียงเฉียงไปด้านหน้า งอลำตัวขึ้นไปด้านบนไปพร้อมกับยืดหน้าอก *จำนวนครั้งของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความแข็งแรง โดยหากทำไม่ไหวก็อย่าฝืน ให้ค่อยๆเริ่มจากน้อยไปมาก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจะดีกว่า เพศหญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ และเมื่อเปลี่ยนสถานภาพเป็นคุณแม่ ก็อาจจะรู้สึกไม่สบายใจกับรูปทรงของเต้านมที่เปลี่ยนไป แต่การเปลี่ยนแปลงของเต้านมนั้น เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าการเป็น”คุณแม่” จึงอย่าคิดว่าเป็นการ “เสียทรง” แต่ขอให้คิดว่า “เราเป็นแม่คนแล้ว” การที่เต้านมเปลี่ยนรูปทรงไปหลังคลอดนั้นย่อมเกิดขึ้นกับคุณแม่ทุกคน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ไม่ได้เป็นเฉพาะเราเพียงคนเดียว...
ไข้หวัดกับคุณแม่ตั้งครรภ์ (Flu during pregnancy)
เนื่องจากช่วงนี้คนรู้จักของ Admin ที่กำลังตั้งครรภ์ได้ติดเชื้อไข้หวัดจากลูกสาวคนโต ที่ติดจากเพื่อนที่โรงเรียนอนุบาลจึงไปหาข้อมูลการดูแลรักษา ก็เลยถือโอกาส เอาข้อมูลที่แปลมาแชร์ค่ะ :) ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ยิ่งมีสภาวะโลกร้อน สภาพอากาศที่แปรปรวน ผิดที่ผิดทาง โดยปกติสภาพอากาศทางธรรมชาติจะมีหน้าที่เป็นตัวสร้างสมดุลของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างจุลชีพในแต่ละพื้นที่ให้ลงตัว เพื่อสร้างระบบนิเวศที่สมบูรณเพื่อให้สิ่งมีชีวิตต่างๆดำเนินไปได้ด้วยดี ซึ่งเมื่อโลกร้อนขึ้นจากภาวะเรือนกระจกเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของในแต่ละพื้นที่ให้แปรผันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เชื้อโรคก็ฟุ้งสิค่ะแบบนี้ ยกตัวอย่างเช่น ไข้หวัด ที่ช่วงนี้เด็กเล็กๆเป็นกันบ่อยมาก แล้วเจ้าไวรัสเชื้อหวัดนี้มันก็เริ่มหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งบ้านไหนคุณแม่กำลังมีน้องคนที่ 2 แล้วยังนอนเตียงเดียวกับน้องคนแรกอีกด้วยยิ่งต้องระวังตัวกันเข้าไปใหญ่นะค่ะ วันนี้ Admin จะมาอธิบายว่าทำไมคุณแม่ต้องยิ่งดูแลตัวเองเป็นพิเศษช่วงที่กำลังตั้งครรภ์นะค่ะ จากบทความ Flu during pregnancy ของ babycenter.com Flu หรือ Influenza คือ ไข้หวัดใหญ่ เจ้าเชื้อไข้หวัดนี้ไม่มียารักษาที่แน่นอนนะจ๊ะ เพราะมันคือเชื้อไวรัส ซึ่งการแพร่กระจาย และ การแผลงฤทธิ์ จะไม่เหมือนเชื้อแบคทีเรียนะจ๊ะ จึงทำให้การรักษานั้นจะไม่ขึ้นกับยาเหมือนเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ แต่พระเอกในการรักษาเชื้อหวัดจริงๆนั้นคือภูมิคุ้มกันในร่างกายของคน ยาก็มีส่วนช่วย แต่จะช่วยในเรื่องของการทำให้เชื้อโรคอ่อนแอลงในระดับหนึ่งเพื่อเปิดโอกาสให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าไปกำจัดนะคะ คำถามคือ? Is the flu especially dangerous for pregnant women? เชื้อไข้หวัดอันตรายมากเป็นพิเศษกับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือไม่ คำตอบคือ เป็นมาก เพราะช่วงคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะลดลง ทำให้ช่วงนี้เป็นช่วงที่เปราะบางมากสำหรับคุณแม่กำลังตั้งท้อง และไข้หวัดนั้นจะดับเบิ้ลความแรงทันที่เมื่อคนท้องเป็นไข้หวัด ยิ่งถ้าติดเชื้อจะยิ่งร้ายแรงกว่าคนปกติ อาทิ โรคปอดบวมที่ตามมา (pneumonia) ไม่เพียงแค่นั้นคนท้องที่ติดเชื้อไข้หวัดจะมีโอกาสเจอกับปัญหาที่ส่งผลถึงลูกน้อยในท้องอีกเช่นกัน ซึ่งรวมถึง การคลอดก่อนกำหนด แน่นอนว่าคนที่กำลังเป็นแม่ส่วนใหญ่เมื่อเป็นไข้หวัดจะไม่ค่อยเป็นอะไร แต่ในทางสถิติ...
กล้ามเนื้อหน้าท้องแยกออกจากกัน "Diastasis Recti"
ความรู้ใหม่ค่ะ!! ระหว่างที่ admin ไปหาข้อมูลได้ไปเจอกับข้อความนี้เข้า "Belly Bandit may also help with abdominal separation also known as Diastasis Recti" "ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด Belly bandit อาจจะช่วยในเรื่องของกล้ามเนื้อช่องท้องแยกออกจากกันได้ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Diastasis Recti " ล่าสุดมีคุณแม่ท่านหนึ่งโทรมาถามอยู่ว่า คุณแม่ท่านนี้บอกว่า "เราเป็นโรคกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกตัว" (คนฟังแอบงง เพิ่งเคยได้ยินครั้งแรก)เค้าบอกต่อว่า "โรคนี้มักจะเกิดกับคุณแม่ที่มีสรีระเล็กแต่ครรภ์ใหญ่ทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องต้องแยกตัวออกมามากกว่าปกติ และเมื่อหดกลับไปกล้ามเนื้อหน้าท้องจะไม่กลับไปตามรูปร่าง ไม่มีข้อมูลที่เป็นภาษาไทยเลยที่เกี่ยวกับโรคนี้ เราเลยต้องไปหาข้อมูลจากเมืองนอก แล้วการออกกำลังกายบริหารหน้าท้องแบบปกติอย่างซิตอัพก็มีแต่จะยิ่งทำให้มันแยกมากขึ้น เลยโทรมาถามค่ะว่าตัวผ้าคาด Belly bandit สามารถช่วยได้มั้ยค่ะ เพราะว่าตอนนี้ 6 เดือนกว่าแล้วเพิ่งสังเกตเห็นลายขรุขระแปลกเกิดขึ้นที่ไม่ใช่ท้องแตกลายค่ะ ลายน่ากลัวมากเลยค่ะ เฮ้อ... ยิ่งพูดยิ่งหดหู่" Admin ไปไม่ถูกเลยค่ะ = =" ก็เลยบอกไปว่าไม่ทราบจริงๆ แนะนำให้ไปหาหมอ และให้กำลังใจเค้าไป <หดหู่กว่าเดิม> หลังจากวางหูก็เลยนั่ง study หาข้อมูลอยู่นาน คุณแม่ก็ให้แต่ภาษาไทยมาละก็ไปไม่ถูกสิค่ะว่าชื่อทางการแพทย์มันคืออะไร แต่และแล้วเราก็เจอฮะ โรคนี้มีชื่อว่า Diastasis Recti เจอใน wiki อย่างที่คุณแม่บอกค่ะ ไม่ค่อยมีข้อมูลแน่นอน มีแค่ 4 ภาษา (ไม่มีไทย Y_Y ) Diastasis Recti คืออะไร Diastasis Recti หรือ abdominal separation คือ การที่กล้ามเนื้อส่วนช่องท้องที่มีชื่อว่า rectus abdominis muscle หรือที่เรารู้กันสั้นๆว่า abs หรือที่บ้านเราเรียกกันว่า ซิกแพค จากภายนอกที่เราเห็นกันคือจะมีก้อนกล้ามเนื้อ2 ก้อนเรียงแถว 4 ลงมา ได้ 4 คู่ 8 ก้อน ลักษณะเหมือนมีฝักถั่ว...