News RSS
มาสร้างความอบอุ่นให้ลูกน้อยกันเถอะ
หากวันไหนหาผ้าอ้อมใส่ให้ลูกไม่ได้ หรือผ้าอ้อมเปียกแฉะ และไม่ได้ซื้อเก็บไว้ คุณแม่จะหาทางออกยังไงเอ่ย เรามีตัวช่วยมาแนะนำหากไม่มีผ้าอ้อมในมือ ด้วยการห่อตัวลูกง่ายๆ ด้วยผ้าขนหนู ซึ่งนอกจากผ้าขนหนูจะใช้แทนผ้าอ้อมแล้ว ยังสร้างความอบอุ่นให้ลูกน้อยเมื่อยามหนาวมาเยือนด้วย มาดูวิธีกันค่ะ ก่อนอื่น เตรียมผ้าขนเช็ดตัวผืนใหญ่รูปทรงจัตุรัสเนื้อนิ่ม 2 ผืน และผ้าเช็ดตัวทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 ผืน และเตรียมลูกน้อยให้พร้อม รวมทั้งคุณแม่ด้วย แบบที่ 1 สร้างความอบอุ่นให้ทารก วางผ้าเช็ดตัวลงในแนวเฉียงตามรูป แล้วพับผ้ามุมแหลมส่วนบนลงมาถึงกึ่งกลางผ้า จากนั้นวางลูกน้อยลงตรงมุมที่พับลงมาโดยเหลือส่วนแขนและศีรษะไว้ จากนั้นให้พับมุมขวาเข้าหาตัวลูก ปลายมุมให้สอดไว้ด้านหลัง แบบพอดีตัวไม่แน่นมาก และพับมุมด้านล่างขึ้นมาข้างบนสุด และสอดปลายไว้ สุดท้ายให้พับมุมซ้ายเข้าหาทารก เท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ แบบที่ 2 สร้างความอบอุ่นให้เจ้าตัวน้อยและขาทารก วางผ้าเช็ดตัวให้เป็นรูปแนวเฉียงตามแบบที่ 1 แล้วพับมุมแหลมส่วนบนลงมาประมาณ 1/3 และวางลูกน้อยลง แล้วพับผ้าซีกขวาเข้าหาลูกน้อย สอดแขนเข้าหาไปในผ้าแล้วพับซีกซ้ายเข้าหาทารก และสุดท้ายให้ดึงมุมผ้าตรงเหลี่ยมด้านล่างตลบขึ้นมาเหน็บไว้ที่ด้านหลังของทารก เท่านี้ลูกน้อยก็อุ่นทั้งตัวและขาแล้วค่ะ แบบที่ 3 เวลาที่ลูกน้อยพึ่งอาบน้ำเสร็จ ให้เลือกใช้ผ้าเช็ดตัวแบบมีหมวก โดยวางลูกน้อยลงตรงกลางผืนผ้า จากนั้นพับซีกผ้าด้านซ้ายเข้าหาตัว และพับซีกขวาเข้าหาทารกอีกที เท่านี้ก็เรียบร้อยค่ะ และอย่าลืมเช็ดหัวและเช็ดตัวทารกเบาๆ แต่ให้แห้งสนิทค่ะ สำหรับบ้านไหนที่มีทารกน้อย ขอแนะนำให้ซื้อผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่มาติดไว้ที่บ้านสักผืนสองผืนนะคะเอาไว้ห่อตัวลูกน้อยค่ะ เพราะว่าการห่อตัวลูกน้อยด้วยผ้าเช็ดตัวมีข้อดีมากมายคือ - การห่อตัวลูกน้อยด้วยผ้าเช็ดตัว จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่น โดยเฉพาะเวลาที่ได้ม้วนตัวด้วยผ้านุ่มๆ เขาจะนิ่งและผ่อนคลายได้อย่างมหัศจรรย์ จนนอนหลับสบาย ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า ผ้านุ่มๆ น่าสัมผัส ลูกน้อยจะรู้สึกอบอุ่นอย่างมหัศจรรย์ ว่ากันว่าให้ความรู้สึกเหมือนตอนอยู่ในท้องแม่ รู้สึกเหมือนได้รับการปกป้อง - ข้อดีอีกอย่างหนึ่งลูกน้อยไม่จำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าก็ได้ค่ะ เขาได้รับอิสระโดยไม่มีเสื้อและกางเกงมาคลุมตัว ทำให้รู้สึกโล่ง สบายและอบอุ่นค่ะ - การห่อหุ้มลูกน้อยนั้น ต้องอาศัยความรู้สึกทะนุถนอม เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกสบาย เหมือนเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ผ้าเช็ดตัวห่อหุ้มลูกด้วยผ้าเช็ดตัวนั้น ระวังอย่าให้รัดแน่นจนเกินไปควรเหลือที่ว่างให้ทารกได้ขยับเขยื้อนได้บ้างค่ะ ทั้งนี้ก็จะได้ฝึกกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย - เวลาเลือกซื้อผ้าเช็ดตัวให้เลือกที่มีเนื้อผ้านิ่ม ยืดหยุ่นโดยมีขนาดมาตรฐานคือ 60 x 90 เซนติเมตร คุณแม่จะพบว่าลูกมีความสนุกขนาดไหนเวลาที่ลูกน้อยได้ถูกห่อหุ้มด้วยผ้าเช็ดตัวอันแสนอบอุ่นค่ะ Cr : mother and child
"การนอน" ของลูกนั้น..สำคัญไฉน
เมื่อ พูดถึงการนอนของลูก เชื่อว่าพ่อแม่หลาย ๆ ท่านคงมีคำถามเกี่ยวกับการนอนของลูกกันอยู่ไม่น้อย เช่น เด็กควรนอนวันละกี่ชั่วโมง ควรปลุกให้ดื่มนมตามเวลาหรือไม่ เด็กจะนอนได้ทั้งคืนโดยไม่ตื่นมากินนมตอนอายุเท่าไร แล้วทำไมเด็กเล็ก ๆ บางคนตื่นบ่อยและโยเยตอนกลางคืน หรือไม่ยอมนอน ต้องอุ้มกล่อมหรือป้อนนมทุกครั้ง คำถามเหล่านี้ ทีมงาน Life & Family มีคำแนะนำดี ๆ จาก พญ.ศุภรัตนา คุณานุสนธิ์ กุมาร แพทย์ โรงพยาบาลเวชธานีมาคลายข้อสงสัยกัน โดยปัญหาการนอนของเด็กตั้งแต่วัยขวบปีแรกจนถึงเด็กโตนั้น เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ ประมาณ 1 ใน 5 ถึง 1 ใน 4 ของเด็กวัยก่อน 3 ปีแรกจะพบว่ามีอาการหลับยากและมักตื่นกลางดึกบ่อย ๆ เด็กวัย 3-5 ปี มักกลัวความมืด กลัวเสียงดัง กลัวการนอนคนเดียว ช่วงวัย 10 ปีแรกอาจพบว่ามีการฝันร้าย หรือตื่นกลัวตอนกลางคืน และพบบ่อยที่สุดในช่อง 5-7 ปี ซึ่งพบประมาณร้อยละ 1-4 สำหรับการนอนหลับจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ REM (Rapid eye movement) และ NREM (Non-rapid eye movement) สำหรับระยะการนอนหลับช่วง REM Sleep การหลับจะเป็นแบบตื้น ๆ ร่วมกับการกรอกตาไปมาอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย ชีพจรและการหายใจอาจไม่สม่ำเสมอ ความฝันจะเกิดในช่วงนี้ ส่วน NREM Sleep ชีพจรและการหายใจจะช้าลง สม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวลำตัวจะน้อยที่สุด เป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ ได้หยุดพักมากที่สุด REM Sleep ในเด็กแรกเกิดจะเกิดประมาณร้อยละ 50 ของการนอนและลดลงอายุ 5 ปีจะเท่ากับผู้ใหญ่คือ ร้อยละ...
กรดไหลย้อนเจ้าตัวเล็กก็เป็นได้ กรดไหลย้อนในทารกคืออะไร
กรดไหลย้อนเจ้าตัวเล็กก็เป็นได้ กรดไหลย้อนในทารกคืออะไร ภาวะ ที่กรดในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งจะทราบได้จากการที่ทารกมีอาการแหวะนม ซึ่งปกติทารกในขวบปีแรก อาจจะมีการแหวะนมเพียง นิดหน่อยก็คงไม่ต้องกังวล แต่หากว่าลูกมีอาการแหวะนมที่ผิดปกติ เช่น แหวะนมออกมาเยอะมากหรือแหวะนมบ่อย อาจเป็นสัญญาณของโรคกรดไหลย้อน นอกจากนี้ยังมีภาวะกรดไหลย้อน ที่ ไม่สามารถสังเกตอาการได้จากการแหวะนม เช่น ปอดอักเสบแบบเป็นๆ หายๆ, การไอเรื้องรัง, ไอเสียงดังหรือหายใจเสียงดังมากๆ เป็นต้น สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อน กรด ไหลย้อนจากกระเพาะสู่หลอดอาหาร ในเด็กเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหาร (ทำหน้าที่เปิดให้อาหารลงสู่กระเพาะอาหารและปิดเมื่อกินอาหารเสร็จ) ยังไม่แข็งแรง เมื่อ ลูกอิ่มนมเสร็จแล้วหูรูส่วนปลายหลอดอาหารปิดไม่ สนิท จึงทำให้นมหรืออาหารรวมทั้งกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมา ทำให้ลูกมีอาการต่างๆ เหล่านี้ค่ะ อาการของทารกที่มีภาวะกรดไหลย้อน -แหวะนมหรืออาเจียนบ่อยและรุนแรง -ปฏิเสธการป้อนนมหรืออาหาร -ลูกแสดงความรู้สึกหงุดหงิดง่ายหรือร้องกวนมากกว่าปกติ มักจะเป็นหลังการป้อนนมหรืออาหาร -น้ำหนักลดหรือไม่ขึ้นตามเกณฑ์ -ไอบ่อย ไอเรื้อรัง และหายใจเสียงดังหรือหายใจลำบาก -ลูกมีอาการกลั้นหายใจหรือไม่ หายใจในช่วงที่เกิดภาวะกรดไหลย้อน นอก จากนี้ยังอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น เลือดจาง อาเจียน เป็นเลือด เสียงแหบ ปอดติดเชื้อบ่อยๆ หรือหอบหืด โดยที่ไม่มีอาการแหวะนมเลย หากลูกมีอาการต่างๆ ดังนี้ ควรปรึกษาคุณหมอ โรคทางเดินอาหาร เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องต่อไปค่ะ ป้องกันกรดไหลย้อนให้ลูกได้ง่ายนิดเดียว -ให้นมมื้อละน้อย แต่บ่อยขึ้น -ปรับท่าการให้นมลูก คือต้องยกหัวให้สูงขึ้นกว่าปกติ -อุ้มลูกเรอทุกครั้งหลังกินนม จะช่วยลดภาวะกรดไหลย้อนได้ -ให้ ลูกนอนหัวสูงสัก 15-30 องศา และตะแคงซ้าย เพราะกระเพาะอาหารอยู่ค่อนทางซ้ายจะได้อยู่ต่ำกว่าหลอดอาหาร เพื่อกันไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ โดยใช้หมอนยันตัวลูกไว้ไม่ให้พลิกมานอนหงาย -หมั่นสังเกตอาการที่อาจเป็น สัญญาณเตือนว่ามีภาวะแทรกซ้อนแล้ว เช่น หอบหืด ไอเสียงดัง ไอเรื้อรังหรือว่ามีปอดอักเสบบ่อยๆ ขอขอบคุณข้อมูลจากMother & Care
การดูแลรูปร่างและสภาพร่างกายหลังคลอด
การดูแลตัวเองหลังการคลอดบุตร สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือ การดึงเอาน้ำในร่างกายที่คั่งตอนตั้งครรภ์ออกให้มากที่สุด โดยการให้เหงื่อออกให้มากๆ เช่น การอบซาวน่า หรือการอยู่ไฟ เพื่อจะได้ขับน้ำที่คั่งอยู่ระหว่างชั้นกล้ามเนื้อลึกๆ ได้ถูกขับออกมาด้วย แล้วตามด้วยการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้หดตัวได้เต็มที่ เช่น การบริหารกล้ามเนื้อเฉพาะมัด ( Deep muscle Exercises) ไม่ เช่นนั้นการดึงน้ำออกอย่างเดียวก็จะเกิดปัญหาหย่อนคล้อย ห้อย เหี่ยวย่นมาก โดยเฉพาะหน้าท้อง สะโพก ต้นขา ฯลฯ การบริหารแบบนี้จะทำให้กล้ามเนื้อกระชับและได้สัดส่วนกลับมาเหมือนเดิม แต่หากมีปัญหาปวดหลังเรื้อรังจากการตั้งครรภ์ ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแต่เนิ่นๆ เพราะหากปล่อยไว้ จะแก้ยากมากขึ้น เนื่องจากผู้ปวดเรื้อรังส่วนใหญ่ไม่ใช่การปวดกล้ามเนื้อธรรมดาทั่วไป แต่เป็นการปวดร้าวเพราะโครงสร้างร่างกายและฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปด้วย แต่สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือใน 1-2 สัปดาห์ แรกแม้คลอดเองก็ไม่ควรยกของหนัก หรือยกเวตหนักๆ เพราะจะมีผลต่อแรงดันในช่องท้องสู่ช่องคลอด หากต้องการออกกำลังในช่วงนี้ก็คือ การเคลื่อนไหวบ่อยๆ เบาๆ ด้วยการเดิน ยืนบ่อยๆ โดยเฉพาะการแขม่วหน้าท้อง ให้หน้าท้องยุบเร็วขึ้น ขมิบก้น ขมิบช่องคลอดบ่อยๆ เพื่อให้เข้าที่ได้เร็วยิ่งขึ้น ไม่ห้อยหย่อนคล้อย ซึ่งเป็นการออกกำลังที่ทำได้ตลอดเวลา