Tips RSS
ฝึกลูกหลับยาว ต้องฝึกอย่างไร
ฝึกลูกหลับยาว ต้องฝึกอย่างไร เมื่อลูกน้อยหลับๆ ตื่นๆ แบบเด็กทารก หลับไม่ยาว หลับไม่เป็นเวลา กลางคืนตื่นบ่อย แถมหลังๆ ยังหลับยากขึ้นอีก หลายคนคงต้องเริ่มคิดแล้วว่า อยากให้ลูกหลับยาวๆ บ้าง เพราะหากลูกหลับยาว แม่จะได้มีเวลาพักเพิ่ม ทำอย่างอื่นเพิ่มขึ้นด้วย ไปดูวิธีทำให้ลูกหลับยาวกันดีกว่า #ลูกหลับยาก #ฝึกลูกนอน #ฝึกลูกหลับยาว #ลูกหลับยาว #ลูกนอน #ฝึกลูกหลับ
Nusery Trend 2022 เทรนด์แต่งห้องลูกน้อย ปี 22
มาแล้วค่ะ เทรนด์การแต่งห้องลูกน้อยในปี 2022 สำหรับใครที่อยากได้เทรนด์การแต่งห้อง ห้องนอนลูกนั้นสามารถแต่งออกมาได้ตามนิสัย หรือสไตล์ของลูกน้อยได้เลย และของแต่งห้องที่เข้าเซ็ตกัน ถ้าคุณพ่อคุณแม่บ้านไหนที่มีแพลนอยากแต่งห้องให้ลูกน้อย แต่ไม่รู้ว่าจะแต่งห้องแบบไหน สไตล์ไหน ลองใช้ไอเดียเหล่านี้ไปเป็นแนวทางได้นะคะ Star Theme ตีมนี้เป็นตีมของดาว สามารถแต่งออกมาได้สำหรับเด็กผู้ชาย และเด็กผู้หญิง การมีดาวตกแต่ง ไม่ว่าจะเป็น โมบายติดผนัง ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน เซ็ตเครื่องนอน หรือของตกแต่งต่างๆ เป็นรูปดาวก็ทำให้ห้องนอนลูกน้อยสวยขึ้นมาได้ แล้วก็คุมตีมสีให้เข้ากับลูกน้อย ก็จะกลายเป็นห้องดาวที่น่านอนแล้ว Rich Hues การเน้นสีสันต่างๆ ของผนังห้อง สีสันของผ้าปูที่โดดเด่น สีสันของเฟอร์นิเจอร์ที่โดดเด่น ตัดกัน แต่ไปในตีมเดียวกัน เช่น ผนังสีเข้ม ตัดกับเฟอร์นิเจอร์สีอ่อน ก็จะทำให้สีสันในห้องก็โดดเด่นขึ้นมาได้ Natural Materials ตีมธรรมชาติ ตอนนี้ตีมนี้ก็มาแรงนะคะ เพราะตีมธรรมชาตินั้นจะทำให้ห้องนั้นดูสวยงาม ดูใกล้ชิดกับธรรมชาติ ผ้าปูสีอ่อน เน้นลวดลายสีสันเฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่ง โมบาย ที่เป็นไม้ หรือของติดผนัง ทำให้มีจุดเด่นของห้องเพิ่มขึ้น Japandi Style ตีมการแต่งห้องที่แต่งตามแม่สี ยึดแม่สีหลักๆ ที่โดดเด่นเป็นสีหลัก จากนั้นก็แต่งด้วยสีรองลงไป การให้แม่สีทำงานกับสิ่งของในห้อง หรือของตกแต่งในห้องที่มีสีที่โดดเด่นคุมโทน ก็สวยได้เช่นเดียวกัน หรือจะมีตุ๊กตาตกแต่งห้องนอน หรือของตกแต่งห้องนอนต่างๆ มาเสริมก็ได้ Black Accents การตกแต่งห้องนอนในโทนตีมสีดำ คำว่าดำนี้เป็นการเล่นกับเฟอร์นิเจอร์ หรือสิ่งต่างๆ ภายในห้องที่เป็นสีในโทนดำ เพื่อนำมาตัดกับสีอ่อนๆ ในห้อง ในเฟอร์นิเจอร์เล็กๆ น้อยๆ...
10 ไอเดีย จัดตู้ลูกดี ชีวิตสดใส
สวัสดีค่ะแม่ๆ เชื่อแม่ๆ หลายบ้านนั้นกำลังวางแผนที่จะซื้อตู้เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือตู้ที่มีลิ้นชัก เอาไว้สำหรับใส่ของให้ลูกน้อยกันอยู่ใช่ไหมคะ เพราะถ้าบ้านไหนจะต้องมีสมาชิกตัวน้อยๆ เพิ่มขึ้นละก็ เราก็ต้องจัดเตรียมความพร้อม เตรียมสิ่งของต่างๆ สำหรับเด็กทารกเอาไว้ให้เขา สำหรับบ้านไหนที่วางแพลนจะซื้อตู้เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือมีอยู่แล้วสำหรับบ้านไหนที่ลูกนั้นเริ่มจะโตแล้ว หรือมีตู้ไว้ แต่นึกไม่ออกว่าจะทำอะไรกับตู้ดี บอกเลยว่า การใช้งานตู้เปลี่ยนผ้าอ้อมลิ้นชักเหล่านี้นั้นสามารถใช้งานได้ยาวๆ เพราะตู้เปลี่ยนผ้าอ้อมที่มีตัวกั้นกันเด็กตกนั้น สามารถถอดออกเมื่อไม่ใช้ ก็สามารถใช้เป็นตู้เสื้อผ้าเด็กตอนเขาโตได้อีกด้วย เรามาเริ่มต้นด้วยการจัดตู้กันก่อนเลยดีกว่า เพราะการจัดตู้นั้นจะทำให้เรานั้นใช้พื้นที่ภายในตู้ลิ้นชักได้อย่างคุ้มค่า และยิ่งไปกว่านั้น เราจะสามารถหาของใช้เกี่ยวกับลูกได้ง่ายขึ้น ประโยชน์ใช้สอยก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย แต่ถ้าเริ่มต้นไปไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นทำอะไรก่อนดี ทุกอย่างในตู้ที่ก่อนหน้านี้ก็ยัดๆ เข้าไป มันเต็มไปหมดเลย ไม่รู้อะไรต่ออะไรอยู่ในนั้น เราขอแนะนำให้เคลียร์ลิ้นชักทุกช่องของตู้ให้โล่งก่อนค่ะ ก่อนอื่นเลยก็จัดการรื้อเอาของทุกอย่างในตู้ลิ้นชักออกมาให้หมดค่ะ มาดูว่าอันไหนที่ควรทิ้งไปบ้าง หรือเก็บไว้ ถือเป็นการแยกของ แยกขยะที่ไม่ใช้แล้วไปในตัวค่ะ อะไรที่ไม่จำเป็น ทิ้งไปบ้างก็ดีนะคะ เมื่อลิ้นชักโล่งแล้ว เดี๋ยวไอดีแจ่มๆ อื่นๆ ก็ตามมาค่ะ เมื่อตู้ลิ้นชักโล่งแล้ว อาจจะทำการตกแต่งช่องภายในให้ดูสวยงาม น่าใช้ ด้วยสติ๊กเกอร์ หรือป้ายแปะหน้าตู้ก็ได้นะคะ เชื่อไหมคะว่า พอตกแต่งให้สวยงามแล้ว ไอเดียในการจัดของ วางของภายในตู้เปลี่ยนผ้าอ้อมนั้นก็จะหลั่งไหลเข้ามา ว่าเรานั้นอยากจะจัดอะไรไว้ตรงไหน แบบไหนดี ส่วนมากเลยที่จะแนะนำก็ เอาของที่ใช้บ่อย และต้องการใช้ในเวลาอันรวดเร็วไว้ชั้นบนๆ เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้งานนั่นเองค่ะ ตู้โล่งก็แล้ว ตกแต่งให้สวยงามก็แล้ว ยังคิดไม่ออกว่าแต่ละชั้นนั้นจะจัดอะไรลงไปบ้าง ก็ขอแนะนำให้จัดช่องเล็กๆ เข้าไปในช่องของตู้เปลี่ยนผ้าอ้อมอีกทีค่ะ เพราะว่าการจัดช่องเล็กๆ เข้าไปนั้นจะทำให้เรานั้นสามารถจัดของชิ้นเล็กๆ หรือชิ้นที่ไม่เกี่ยวของกัน ให้เป็นหมวดหมู่อยู่ในชั้นเดียวกันได้ สะดวกในการใช้งาน และเป็นระเบียบอีกด้วยค่ะ ชั้นบนสุดของตู้เปลี่ยนผ้าอ้อมนั้นบอกเลยว่าต้องเป็นสิ่งของจำเป็นเราแนะนำว่า...
Time out ลงโทษแบบสงบแต่สยบลูกน้อยอย่างได้ผล
Time out คืออะไร ผศ.นพ.วิฐารณ บุญสิทธิ กล่าวถึง Time out ไว้ดังนี้ Time out คือ การแยกเด็กออกจากสิ่งกระตุ้นหรือความสนใจจากสิ่งรอบข้างชั่วคราว เพื่อให้เขาสงบ และควบคุมตนเองได้ เรียกว่า เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้เด็กได้สงบสติอารมณ์ แต่ไม่ใช่การกักขังลูกในห้องอย่างเด็ดขาด ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง และไม่ใช่การ Time out เพราะการกระทำเช่นนี้ ยิ่งกระตุ้นอารมณ์ด้านลบ อารมณ์โกรธ โมโหของเด็กให้พลุ่งพล่านออกมามากกว่า และอาจมีผลเสียอื่น ๆ ตามมาด้วยเด็กในวัยใดสามารถใช้วิธี Time out ได้ วิธีการนี้เหมาะที่จะใช้กับเด็กในช่วงอายุ 2 – 3 ขวบ เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มรู้จักการรักษากฎต่าง ๆ วิธีการดูว่าลูกรู้จักการ รักษากฎแล้วหรือยัง เช่น ดูว่าลูกสามารถจับผิดพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่ไม่ทำตามกฎที่ครอบครัวไว้ เช่น ถ้าพ่อแม่ห้ามกินขนมบนที่นอนหากลูกมาเห็นพ่อแม่กินอยู่แล้วพูดว่า “แม่กินขนมบนที่นอนไม่ได้ ” นั่นแสดงว่าลูกรู้จักกฎ และการรักษากฎแล้ว เป็นต้น สำหรับเด็กอายุ 2 ขวบ ควรเริ่มจากระยะเวลาสั้น ๆ เช่นประมาณ 30 วินาที หรือ 1 นาที ระยะเวลาที่เหมาะสมอาจจะดูเป็นกรณีไป เวลาที่ดีควรเป็นเวลาที่พอประมาณ ให้เด็กสามารถสงบสติอารมณ์ได้สิ่งสำคัญต้องให้เด็กรู้เหตุผลในการ Time out เมื่อครบเวลาควรทบทวนกับเด็กสั้น ๆ ว่าเขาต้องอยู่ใน Time out เพราะเหตุใด เช่น “พ่อให้หนูนั่งสงบตรงนี้เพราะหนูขว้างของ คราวหลังถ้าหนูโกรธก็บอกได้นะไม่ต้องขว้างของ ตอนนี้หนูใจเย็นแล้วไปเล่นต่อได้” แล้วให้เด็กไปมีกิจกรรมอื่น ๆ ตามปกติ ควรหลีกเลี่ยงการสอนที่ยาวหรือการพูดตำหนิติเตียน ถ้าลูกไม่ยอมอยู่ใน Time...